ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานคนไทยในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยธำรงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานคนไทยในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง จำนวน 367 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.45 , S.D.= 0.47) 2) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านลักษณะของงาน (β = 0.28) ด้านฝึกอบรมพัฒนา (β = 0.22) ด้านโอกาสในการก้าวหน้า (β = 0.17) และปัจจัยธำรงรักษา ได้แก่ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ (β = 0.23) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (β = 0.20) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (β = 0.15) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (β = 0.13) ด้านนโยบายและการบริหาร (β = 0.10) พบว่ามีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
คนอง ปัญญะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซูมิโกะ ลีดเฟรม
ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2551). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ไทยยนต์บัส บ้านโป่ง จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).
นัยนา สุภาพ. (2558). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท พี.เอส.อินทรูเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการองค์การสมัยใหม่, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี).
อรณัส จิโนวัฒน์. (2559). คุณลักษณะส่วนบุคคล วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นและแรงจูงใจที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนไทยในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2561). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2561-2563: อุตสาหกรรมรถยนต์. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/bank/th/Other/research/industry/industry-outlook.html?page=4
Emerson, H. (1931). The Twelve Principles of Efficiency. New York. The Engineering Magazine.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York. John Wiley & Sons, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.