การใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTADสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านสะกดคำโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 104 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 34 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราจำนวน 4 ชุด ชุดละ 8 แบบฝึก แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน - หลังเรียน (Pre-test–Post-test) แบ่งเป็นการอ่านออกเสียง 40 คำ แบบเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 40 คะแนน และแบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กก แม่กด แม่กน แม่กบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีค่า E1/ E2 เท่ากับ 84.83/85.67 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) หลังได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ18.26 คิดเป็นร้อยละ 85.66 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจเท่ากับ 2.60 อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2552) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2551). การเขียนแผนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
กาญจนา วัฒายุ. (2550). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.สำนักงานปลัดกระทรวง. กระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฏฐนาถ สุกสี. (2558). การสร้างแบบฝึกร่วมกับภาพการ์ตูนเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเพื่อการวิจัยฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูล Microsoft Excel. (พิมพ์ครั้งที่2).เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เบ็ญจวรรณ เสาวโค. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD + R. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
ภาไฉน เข็มเพ็ชร. (2547). การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ เอส ทีเอ ดี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร, (2560). โครงการแก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้. เชียงราย:
โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร).
สวัสดิ์ สุขโสม. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สุคนธ์ สินธพานนท์, วีณา ณ ระนอง. ฟองจันทร์ สุขยิ่ง. ปัญญา สังข์ภิรมย์. ศรีลักษณ์ มาโกมล. จันทร์เพ็ญ ชุมคช, พิวัสสา นภารัตน์. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุภาพ พงษ์ตุ้ย. (2551). ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง การอ่านสะกดคำ แม่กน แม่กดแม่กบที่ไม่ตรงมาตราสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2) โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปะศาสตร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
อัมพวรรณ์ โคโตสี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Maslow. (1970). Motivation and personality. New York: Harper & Row Publishers.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning theory, research and practice. (2nd ed). Massachusetts: Macmillan Publishing Company.