การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การเรียนวิทยาศาสตร์ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษา ในกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน จากโรงเรียนขยายโอกาสเเห่งหนึ่งในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาจำนวน 3 แผนเป็นเวลา 12 ชั่วโมง การบันทึกหลังการสอน และแบบประเมินชิ้นงานจากการเรียนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการบันทึกหลังการสอน อนุทินของนักเรียน ชิ้นงานของนักเรียน และแบบประเมินชิ้นงานและพฤติกรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ วิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหา ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการทำงานกลุ่ม ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการทำงาน ขั้นที่ 4 การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการลงมือปฏิบัติและทักษะการทำงานกลุ่ม ขั้นที่ 5 การทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้วิเคราะห์ผลงานของกลุ่มตนเองพร้อมทั้งเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน และขั้นที่ 6 การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาชิ้นงาน
Article Details
References
2560). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กองวิจัยทางการศึกษา. กรมวิชาการ. (2542). รายงานวิจัย เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
นิคม ชมภูหลง. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์
น้ำฝน คูเจริญไพศาล, กิ่งแก้ว แก้วทิพย์, คุณัญญา นงค์นวล และปิยะลักษณ์ หะริตะวัน. (2560 ). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปน้ำ ยางพารา ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1). 23-37.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ต่างคน ต่างคิด เส้นทางปฏิรูปการศึกษาไทย. มติชน, 1(8), 6.
พรชัย ภาพันธ์. (2545). การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. วิทยาจารย์, 101(1),
31-36.
มนตรี จุฬาวัฒนมณฑล. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม”. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19 (มกราคม – ธันวาคม), 3-14.
ยุทธนา ชัยเจริญ, วรางคณา เขาดี และอโนดาษ์ รัชเวทย์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชาติ ครั้งที่ 1, 1301-1314.
วีระพงษ์ แสงชู-โต. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: โชตนา
พริ้นท์
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2558). สะเต็มศึกษา: ความท้าทายใหม่ของวงการศึกษา. สงขลา: นำศิลป์
โฆษณา จำกัด
สิรินนภา กิจเอื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.
สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะสำคัญของสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, 10(2), 13-34
ศศิเทพ ปิติเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. สมุทรปราการ: บอสส์การพิมพ์
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education สะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อโนดาษ์ รัชเวทย์, ฐิชินีปกรณ์ สมแก้ว และปภาวี อุปธิ. (2560). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 226-238.
Anderson, D., Keith B. Lucas, and Ian S. Ginns. (2013). Theoretical perspectives on learning in an informal setting. Journal of Research in Science Teaching, 40(2), 101 – 131.
Gibbons, P. (2002). Scaffolding Language, Scaffolding Learning. Porthsmouth, NH: Heinmann.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). Introduction: the nature of action research. The Action Research Planner, 5-28.
McCombs, B. L. (2000). Assessing the role of educational technology in the teaching and learning process: A learner-centered perspective. 17 p.; In: The Secretary's Conference on Educational Technology, 2000: Measuring Impacts and Shaping the Future. [Proceedings] (Alexandria, VA, September 11-12, 2000).
Dewey, J. (1976). Moral principle in education. Boston: Houghton Mifflin Co.
Piaget, J. (1986). The construction of reality in the child. N.Y.: Ballantine Books.
Piaget, S. (1962). The language and thoughts of the child. Trans. M. Gabain. Cleveland, OH: Meridian.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning. New York: Longman.