ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์การกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 284 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ โครงสร้างองค์การ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ระบบสังคม แรงจูงใจและภาวะผู้นำ 2) ระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การมุ่งเน้นวิชาการ ความผูกพัน การสนับสนุนทรัพยากร การติดต่อสื่อสารอย่างเพียงพอและความเข้มแข็งขององค์การ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมากที่สุด ( = .801) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ โครงสร้างองค์การระบบสังคม สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การและภาวะผู้นำ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 66.40
สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบคะแนนดิบ = 1.251 + .227X2 + .238X4 + .130X5 + .115X1
และสมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน = .310X2 + .301X4 + .177X5 + .165X1
Article Details
References
คณพงศ์ ดาเลิศ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
เจริญ ควรหา. (2552). ศึกษาความคิดเห็นของครูทางด้านสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุล การพิมพ์.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). ทฤษฎีองค์การ: ฉบับแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ธนวัชการพิมพ์.
ปรีดา โชติธรรมวาทิน. (2554). สุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, แขนงวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช).
สราวุฒิ ปุริสา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษายโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2559). การบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2560). วิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ย O-NET ปีการศึกษา 2556/2557/2558/2559. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2560, 25 ธันวาคม 2560). “การศึกษาไทย” ในสายตาบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นจาก https://dusitpol.dusit.ac.th/poll/view.phpID=1798/
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรัญญา สารีโพธิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
Daft, R. L. (1986). Organizational Theory an Design. (2nd Ed.). New York: McGraw Hill.
Davis, G. A. (1989). Effective schools and effective teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Flippo, E. B. (1980). Personnel Management. (5th Ed.). New York: McGraw-Hill.
Healy, M.B.S. (1994). Beyond in a Secondary School: A Change for the Best. In C. Persons Quality Improvement Education. (5th Ed.). London: David Fulton.
Hoy, W. K., & Feldman, J. A. (1987). Organizational Health: The concept and its Measure. Journal of Research and Development in Education, 20(4), 32.
Hoy, W. K., & Sabo, J. D. (1997). Quality middle schools: Open and healthy. Eaglewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Hoy, W. K., Tarter, C. J., & Kottkamp, R. B. (1991). Open school/healthy schools. London: Sage Publication.
James, L. R., & Jones A. P. (1974). Organizational Climate, A Review of Theory and Research. Psychological Bulletin, 81(4) (December 1974), 1098-1099.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determinining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Owens, R. G. (2007). Organization behavior in education: Adaptive leadership and school reform. (9th Ed.). Boston, MA: Pearson/ Allyn and Bacon.
Steers, R. M. (1997). Organization Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica, California: Good Year Publishing Company Inc.