รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาจิตวิทยาสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

พวงพยอม ชิดทอง
ปวีณา โฆสิโต
ปภัส ฉัตรยาลักษณ์
พัดชา ปิณฑะดิษ
สิริกาญจน์ สง่า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสร้างรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาจิตวิทยาสำหรับนักศึกษา ประชากรได้แก่ อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสภาพปัจจุบันในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้


  1. สภาพปัจจุบันในภาควิชาจิตวิทยามีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในลำดับแรก ลำดับสุดท้ายคือการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

  2. รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาจิตวิทยา โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก  ซึ่งรูปแบบการสอนดังกล่าวมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้

                        2.1 แผนการสอน ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้  (2) ขั้นตอนและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 9 เทคนิค ได้แก่ การใช้คำถาม  กรณีศึกษา บทบาทสมมติ ความร่วมมือ วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ศูนย์การเรียน ปัญหาเป็นฐาน โครงงานเป็นฐาน การวิจัยเป็นฐาน (3) ขั้นสรุปการนำไปประยุกต์ใช้ (4) ขั้นประเมินผล 


                        2.2 การจัดสิ่งที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรมีการจัดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ยืดหยุ่น จัดรูปแบบโต๊ะเก้าอี้เหมาะสม โดยครูควรเตรียมความพร้อมในการสอน และสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัย เคารพความคิดของผู้เรียน ยอมรับความคิดแปลกใหม่ อำนวยความสะดวก และผู้เรียนควรมีบทบาทโดยควรตั้งเป้าหมายการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ช่างสังเกต ซักถาม มีอารมณ์ขัน


 


                        2.3 แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยข้อคำถามจำนวน 42 ข้อ จาก 16 สถานการณ์ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าความเที่ยงจากการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s Coefficient Alpha)  เท่ากับ  0.45


                        2.4 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาจิตวิทยาทั้ง 5 รายวิชาได้แก่ รายวิชาจิตวิทยาสำหรับวิชาชีพครู รายวิชาจิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล รายวิชาการวิจัยทางจิตวิทยา รายวิชาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น มีลักษณะเป็นข้อสอบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดกับจุดประสงค์ (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 มีจำนวนข้อคำถามที่มีความยากอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ 60 ของจำนวนข้อคำถามทั้งหมดของแต่ละรายวิชาและมีจำนวนข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ (r ≥ .20) อย่างน้อยร้อยละ 40 ขึ้นไปของจำนวนข้อคำถามทั้งหมดของแต่ละรายวิชา สำหรับค่าความเชื่อมั่นซึ่งคำนวณจากสูตร KR-20 ความเชื่อมั่นของทั้ง 5 รายวิชามีค่าระหว่าง .70 - .95

Article Details

How to Cite
ชิดทอง พ., โฆสิโต ป., ฉัตรยาลักษณ์ ป., ปิณฑะดิษ พ., & สง่า ส. (2018). รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาจิตวิทยาสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 1–23. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/130916
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติกำจร กุศล และทัศน์ศรี เสมียนเพชร. (2550). ผลการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. สืบค้นจาก www.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/49420

ปฎิคม พงษประเสริฐ. (2550). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการในโรงเรียนเทศบาลสังกัดเทศบาลเมืองนครนายก. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประยุทธ์ ไทยธานี. (2551). ผลการใช้การตั้งคำถามตามแนวคิดหมวกคิดหกใบที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู. สืบค้นจาก www.old.nrru.ac.th/grad/datateacher.php?id=181

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www. tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80766/64305

ยศ ทรัพย์เย็น. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตกำแพงแสน. สืบค้นจาก www.tnrr.in.th/2558/?page=result_search&record_id=242688

ศิวภรณ์ สองแสน, สมบัติ คชสิทธิ์, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, และฐิติพร พิชยกุล. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยโดยรูปแบบ MAPLE. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/download/.../21659

สุรศักดิ์ สินประกอบ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. สืบค้นจากhttps://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5583446827

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). คู่การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ: บริษัทรัตนพรชัย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกคิดให้คิดเป็นคิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ใยไหม.

อุษา ปราบหงส์. (2550). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สืบค้นจาก https://research.rdi.ku.ac.th/forest/Search.aspx?keyword

องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสาร
ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) E-Journal, 2(3), 1-10. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/903