ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ

Main Article Content

จิดาภา วิเศษศักดิ์
วิชิต เทพประสิทธิ์
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 คน


              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเฉพาะกรณี (Case Study Research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ และแบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ


            ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
แก้วใจ อินทรเพชร. (2548). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา โดยใช้แบบฝึกความคิดสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

จิราภรณ์ ส่องแสง. (2550). ผลของการใช้กิจกรรมศิลปะบูรณาการที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

ชัยณรงค์ เจริญพานิชย์กุล. (2539). พัฒนาเด็กด้วยศิลปะ. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

ณัชพร นกสกุล, สาลิกา แก้วน้ำ และสุภลักษณ์ ชัยภานุเกียรติ์. (2549). ประสิทธิผลของการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและการเรียนรู้ในโรงเรียนราชานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ดนู จีระเดชากุล. (2544). นันทนาการสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และสมจิตร ไกรศรี. (2550). โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภา.

นพพร ตุ้มทอง. (2552). “การฝึกด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อเพิ่มความสามารถในการจํารูปพยัญชนะของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้”. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร)

นวลใย ปฏิโก. (2551). การใช้กิจกรรมศิลปะพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร)

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบอิงเกณฑ์ แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ผดุง อารยะวิญญู . (2554). แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ซี.อินเตอร์ ฟอร์ม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, 19 สิงหาคม 2542 ข.

พูลทรัพย์ คชฤทธิ์. (2545). การศึกษาความต้องการนิเทศทางวิชาการของครูโครงการเรียนร่วม โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ)

วนิดา ชนินทยุทธวงค์, ประเสริฐ จุฑา, จันทนี มุ่งเขตกลาง และอัจจิมา ศิริพิบูลย์ผล. (2554). การวิจัยนำร่องการศึกษาระดับความสามารถทางเชาน์ปัญญาในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กปกติด้วยแบบทดสอบเชาน์ปัญญา. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

วลัยลักษณ์ พันธุรี. (2556). การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ระดับชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร)

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2543). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถ
พิเศษด้านทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ.

วัชรา เล่าเรียน. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรียา นิยมธรรม. (2558). เด็กปัญญาเลิศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 5(1), 101-105.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2545). ศิลปะเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

สาวิตรี จุ้ยทอง มารุต พัฒผล และวิชัย วงษ์ใหญ่. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 124.

สุวรรณา ก้อนทอง. (2547). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะประกอบเสียงดนตรีคลาสสิคที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

สัมภาษณ์ ปลอดขาว. (2549). ศักยภาพในการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลของครูโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2548. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

อรธิดา ประสาร. (2549). การใช้กิจกรรมศิลปศึกษาเพื่อพัฒนาสมาธิและความคิดสร้างสรรคของเด็กออทิสติกศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสําหรบเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Simpson. D W. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in The Federal Social Agencies.
New York: American Elsevier Publishing Co.

Water, W. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in The Federal Social Agencies.
New York: American Elsevier Publishing Co.