กระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ โดยใช้โครงสร้างซีท

Main Article Content

ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์
วิไลพร ปัจฉิมเพ็ชร์
ณัฐชา บุญมีลาภ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวน ปัญหา และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม ในกระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมสังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ โดยใช้โครงสร้างซีท โดยศึกษาจากโรงเรียนเฉพาะความพิการที่จัดการเรียนการสอนรวมระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจำนวน 15 โรงเรียน แบ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการ 1 คน และครู จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน โดยสอบถามความคิดเห็นและนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและครู สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์และสังเกตกระบวนการและปัญหาในการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหารและครูใน 5 โรงเรียน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า


1.กระบวนการบริหารโรงเรียน ด้านนักเรียน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยสถานศึกษามีกระบวนการในการบริหารโรงเรียนภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{\chi&space;}=4.00)


2.ปัญหาการบริหารโรงเรียนด้านนักเรียน (S) พบว่าผู้เรียนมีความแตกต่างกันในการเรียนรู้ทำให้เป็นอุปสรรคในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนและที่สำคัญคือการรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมาเรียนรวมกันทั้งผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินซึ่งวิธีการเรียนรู้จะแตกต่างกัน ด้านสภาพแวดล้อม (E) พบว่าขาดการปรับและจัดสภาพห้องเรียนให้เหมาะกับการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมแต่ละประเภทที่เข้าเรียนรวมในชั้นเรียนนั้น ๆ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A) ปัญหาการจัดให้มีการปรับหลักสูตรจากหลักสูตรปกติทั่วไป ให้เป็นหลักสูตรเฉพาะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  และมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพที่ต้องการจำเป็นพิเศษ และการปรับวิธีการวัด การประเมินผลการเรียน และด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก (T) สภาพปัญหาในการจัดผลิตสื่อ อุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามที่ระบุไว้ในแผน IEP


3.เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและครู ทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) พบว่า ค่าความแปรปรวนของความคิดเห็นของบุคลากรที่มีสถานภาพการทำงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ม่วงประสิทธิ์ ป., ปัจฉิมเพ็ชร์ ว., & บุญมีลาภ ณ. (2018). กระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ โดยใช้โครงสร้างซีท. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 93–113. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/103802
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2559). ข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/article_attach/17397/19804.pdf

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2). พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.

ชวนชม บุญศิริ. (2549). กระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีทในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

ณัชพร ศุภสมุทร์. (2554). การบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษา:โรงเรียนวัดอุทัยธาราม สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ดนัย อันฤดี. (2551). การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1 และเขต 2 ตามโครงสร้างซีท. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ธีระพงษ์ พรมกุล. (2558). สภาพการบริหารการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เป็นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).

นพมาศ สุทธิวิรัช. (2551). การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท ในโรงเรียนแกนนําสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

นิติธร ปิลวาสน์. (ม.ป.ป). การเรียนรวมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs). สืบค้นจาก https://taamkru.com/th/การเรียนรวมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ/

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). วิธิีการทางสถิติสําหรับการวิจัย. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ.์

พชรรัชต์ ยศคำแหง. (2558).การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนวัดด่านสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาOJED, 10(3), 362-376

รจเรข พยอมแย้ม. (2553). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติ. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วารี ถิระจิตร. (2545). การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย ชัยโกศล, ทัศนีย์ สิทธิวงศ์, วันดี สอาดนัก และศิรภัส ธีรศุทธากร. (2552). การศึกษารูปแบบของกระบวนบริหารการจัดการศึกษาพิเศษ เพื่อนักเรียนพิการโดยโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมเขตตรวจราชการที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 8.

วิวัฒน์ไชย ศรีวิพัฒน์. (2550). สภาพการบริหารโรงเรียนแกนนำาจัดการเรียนร่วมภายใต้โครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

สถาบันราชานุกูล. (2557).แนวทางการจดัการเรียนการสอนโดยใช้โครงสร้างซีทสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.

สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. (2559). ระบบสารสนเทศด้านการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์. สืบค้นจาก https://106.0.176.62/indexset/?page_id=445

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สถิติการศึกษาของประเทศไทยปีการศึกษา 2555-2556. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Latham, D. L. (1997). Teachers and building administrators’ attitude and beliefs about inclusion: implications for inservice”. Dissertation Abstracts International, 58(4), 88.

Slee, R., & Weiner, G. (2001). Education reform and reconstruction as a challenge to research genres: Reconsidering school effectiveness research and inclusive schooling. School Effectiveness and School Improvement.