แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ในสังคมที่มีความหลากหลายสำหรับนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

รูดียะห์ หะ
มารุต พัฒผล
ดนุลดา จามจุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ในสังคมที่มีความหลากหลายสำหรับนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 338 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบบอกต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล


            ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพรวมทั้ง 5 ด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 2.79, S.D. = 0.83) และ 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) ด้านการรับฟังข้อมูลออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการฟังและรับข้อมูลรอบด้าน 2) ด้านการเห็นอกเห็นใจและเคารพความคิดผู้อื่นนำแนวทางสันติศึกษามาปรับใช้เน้นการให้คุณค่าต่อทุกความคิดเห็น 3) ด้านการตั้งคำถามที่สร้างสรรค์ออกแบบการเรียนรู้แบบเปิดและใช้คำถามทรงพลัง 4) ด้านการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการวิเคราะห์จากเหตุไปสู่ผลอย่างมีหลักการ และ 5) ด้านไหวพริบการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเน้นให้ผู้เรียนสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับชุมชน โดยการจัดการเรียนรู้ควรพัฒนานักศึกษาครอบคลุมทั้งมิติความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะ เพื่อก่อให้เกิดสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์

Article Details

How to Cite
หะ ร. ., พัฒผล ม. ., & จามจุรี ด. . (2022). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ในสังคมที่มีความหลากหลายสำหรับนักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 13(1), 13–28. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/251712
บท
บทความวิจัย

References

กชณัช นวลนิศาชล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้รับประโยชน์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). ยะลา: ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้.

เกียรติยศ สินพิบูลย์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ขนิษฐา จิตแสง. (2563). การสื่อสารระหว่างบุคคล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนี สีเฉลียว. (2564). รูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(1), 185-203.

ณัฏฐินี ปิยะศิริพนธ์. (2561). ชุมชนพหุวัฒนธรรมท่ามกลางวาทกรรมชาตินิยมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, 60(2), 58-72.

ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2561). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบลลันกา เจมส์ และแบรนต์ รอน. (2562). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 [21st century skills: rethinking how students learn] (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10, ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ. (2560). สันติวิธี: การจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 1-16.

พาสนา จุลรัตน์. (2563). จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive psychology). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชชากร บุรุษพัฒน์ และชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 127-141.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา: จากการบรรยายแบบประเพณีโบราณสู่การสอนแบบไม่สอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์. (2564). สื่อสารสร้างสันติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัสรา นามแสง และอภิศักดิ์ สุขยิ่ง. (2563). การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชาวไทยในระดับอุดมศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(3), 183-212.

มาร์แชล บี โรเซนเบิร์ก. (2560). สานสัมพันธ์ด้วยสันติ [Nonviolent communication: NVC] (ไพริน โชติสกุลรัตน์, แปล). นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์, สราวุธ สายทอง, เกตุ อัสมิมานะ และนัชชิมา บาเกาะ. (2562). พฤติกรรมการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในผู้เรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษาในพื้นที่บริบทจังหวัดชายแดนภาคใต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(1), 16-34.

รูดียะห์ หะ, นิเลาะ แวอุเซ็ง และอับดุลฮากัม เฮ็งปิยา. (2562). องค์ประกอบปัจจัยด้านสถานการณ์แวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรอิสลามศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(1), 96-107.

วรรณดี สุทธินรากร. (2560). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2562). อัลกอริทึมของความแปรปรวนในความรุนแรง 15 ปีชายแดนใต้/ปาตานี. ปัตตานี: สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุพรรษา สุวรรณชาตรี. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเน้นสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความรู้สึกไวของครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Butler, K. (2017). Criticism: Using it to your advantage. Journal of Singing, 74(1), 29-36.

Fong, C. J., Schallert, D. L., Williams, K. M., Williamson, Z. H., Warner, J. R., Lin, S., & Kim, Y. W. (2018). When feedback signals failure but offers hope for improvement: A process model of constructive criticism. Thinking Skills & Creativity, 30(1), 42-53.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "Intelligence". American Psychologist, Harvard University, 28(1), 1-14.

Omer, A. A., & Abdularhim, M. E. (2017). The criteria of constructive feedback: The feedback that counts. Journal of Health Specialties, 5(1), 45-48.

Patonah, S., Sajidan, Cari, & Rahardjo, S. B. (2021). The effectiveness of STLC (Science technology learning cycle) to empowering critical thinking skills. International Journal of Instruction, 14(3), 39-58.

Sinkovics, N. (2018). Pattern matching in qualitative analysis. United State: SAGE.