กระบวนการก่อตัวและพัฒนาการของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อภิรัตน์ หงสยาภรณ์
สมิหรา จิตตลดากร
สุรพันธ์ ทับสุวรรณ
จีริจันทร์ ประทีปะเสน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการก่อตัวและพัฒนาการ แนวความคิดด้านการเมืองการปกครองของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้บริบททางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม รวมถึงศึกษาผลกระทบที่มีต่อสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยคือ แกนนำและสมาชิกกลุ่มสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำ

ผลการวิจัยด้านบริบทและภูมิหลังของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แกนนำและสมาชิกเป็นคนยองที่อพยพหนีพม่ามาจากสิบสองปันนาลงมาที่หมู่บ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่และหมู่บ้านธิ อำเภอลำพูน แกนนำกลุ่มของเชียงใหม่เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการเมือง สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารทางด้านการเมืองอย่างต่อเนื่องและมีประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีความพร้อมที่จะก่อตั้งกลุ่มทางการเมืองของตนเองอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อแกนนำ 4 - 5 คนได้เข้าร่วมเสวนาวิชาการกับนักวิชาการของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยส่วนกลางและแกนนำกลุ่มอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีอุดมการณ์และแนวคิดด้านการเมืองการปกครองเพื่อปกป้องประชาธิปไตยและต้องการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตรงกับผู้เข้าร่วมเสวนาหลายกลุ่มในภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้รวมตัวชาวบ้านหลากหลายอาชีพในหมู่บ้านบวกค้าง หมู่บ้านป่าตาลและหมู่บ้านต้นดู่ อำเภอสันกำแพง ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกันก่อตั้งกลุ่มสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ใน วันที่ 28 ธันวาคม 2556

พฤติกรรมทางการเมือง พบว่ากลุ่มสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องการ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น กิจกรรมที่กลุ่มได้เคลื่อนไหว คือ การประชุมวิชาการ เกี่ยวกับประชาธิปไตย รณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยติดป้ายรณรงค์แรลลี่มอเตอร์ไซด์ติดธงสีขาว แดงและบีบแตรไปตามถนนสันกำแพง ผู้ขับขี่ทุกคนมีผ้าขาว “สปป.ล้านนา” โพกศรีษะการปล่อย โคมลอยพันดวง การกิ๋นข้าวงายแล้วไปเลือกตั้ง เป็นต้น พฤติกรรมของกลุ่ม สปป.ล้านนาในภาค เหนือ ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมี กลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ติดป้ายผ้าที่จังหวัดเชียงราย พะเยาและพิษณุโลก ด้วยข้อความ “ประเทศนี้ไม่มี ความยุติธรรม กูขอแยกประเทศ” ส่งผลให้เกิดกระแสความเกลียดชังและถูกสังคมโจมตีอย่างหนัก เนื่องจากคำว่า “สปป.” ได้ถูกตีความเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว” หลังจากประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2557 จากการทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) และการบังคับใช้มาตรา 44 ทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มสมัชชาปกป้อง ประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ต้องยุติบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนใน ระบอบประชาธิปไตยไทย

 

THE PROCESS OF FORMATION AND DEVELOPMENT OF THE ASSEMBLY FOR THE DEFENSE OF DEMOCRACY LANNA, CHIANG MAI.

This research aims to study the process of formation and development. The idea of defending democracy, the rule of Assembly over Chiangmai Province. The social, political and cultural context, including the impact of general defend democracy over Chiangmai Province. Affecting the social, cultural and political response to government policies. The population in this study were leaders and members of the Assembly for the Defense of Democracy Forum Chiangmai Province. Sampling (Purposive Sampling) and sample chain (Snowball Sampling). This research is qualitative research. Data were analyzed using data from the interviews were analyzed and compiled into a synthesis report. The findings of the context and background of the general defense of democracy over, Chiangmai Province was founded by a core group of 4-5 people. After listening to people talk about democratic politics. The scholars of the General Assembly to protect the democratic public at CMU and acceptance of the new concept, which corresponded to their ideas. The democratic Assembly Lanna in Chiang Mai in 2013 as a member of various professional people in the village stayed positive Patan village and from village to see. San Kamphaeng Chiang Mai is the social aspect culture and traditions at the core of the solicitation. The concept of dominance Found that the PDR. Lanna was established to support the Assembly’s Defense of Democracy and want to have elections on February 2, 2014.

That resulted in the General Assembly over the Defense of Democracy has increased dramatically. Political Behavior General found that the Defense of Democracy Forum Chiangmai Province has given priority to the democratic regime of government with the King as Head of State. To the Prime Minister of elections only. The group is meeting activist movement motorcycle rally. Symbolic expression is a band of white cloth that include the words “ PDR. Lanna “. Motorbike riders caught red-white flags and honking horns in the streets, February 27, 2557 in San Kamphaeng. The political movement of the PDR. Lanna. Chiangmai Province Not affect the social, political and cultural. It has a direct impact on the group. When there is no good news and banners that appear on various media with the message “There is no justice in this country, I would like to split the country”. Resulting in a wave of hatred and social hit. The words “Lao.” has been interpreted as “Laos or Lao PDR.”. After dissolve the parliment on March 9, 2014 the coup d’etant the National Council for Peace and Order (NCPO.) and the enforcement of section 44 allows the Assembly to Defend Democracy over. Chiangmai Province to end the political civil society in democratic Thailand.

Article Details

How to Cite
หงสยาภรณ์ อ., จิตตลดากร ส., ทับสุวรรณ ส., & ประทีปะเสน จ. (2016). กระบวนการก่อตัวและพัฒนาการของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Graduate Research, 7(1), 169–182. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96480
Section
Research Article