การเปิดรับ ทัศนคติ และความต้องการของผู้ชมที่มีต่อรายการโทรทัศน์ “เล่าเรื่องล้านนา”

Main Article Content

ภัชฌามน พูนศรีโชติ
สันทัด ทองรินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับชมของผู้ชมรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” 2) ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” 3) ความต้องการของผู้ชมที่มีต่อรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความต้องการรับชมรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับชมรายการกับทัศนคติต่อรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” 

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ชมรายการโทรทัศน์ “เล่าเรื่องล้านนา”  ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง NBT เชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบหลายชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และค่าไคสแควร์ 

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เปิดรับชมรายการ “เล่าเรื่องล้านนา” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT เชียงใหม่ เป็นบางครั้ง ตั้งใจติดตามรับชมตั้งแต่ต้นจนจบ สนใจรายการเพราะสามารถนำความรู้ที่ได้จากรายการไปพูดคุยถ่ายทอดต่อได้และสามารถนำไปใช้ในการสืบทอดปฏิบัติตามเรื่องราวทางวัฒนธรรมแบบล้านนา 2) ผู้ชมรายการมีระดับทัศนคติต่อรายการอยู่ในระดับมากทุกด้าน (\bar{\chi } = 3.92,  S.D. = 0.96)  3) ผู้รับชมรายการมีความต้องการ ให้รายการ  “เล่าเรื่องล้านนา” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT เชียงใหม่ มีรูปแบบรายการเป็นสารคดี (\bar{\chi } = 3.98, S.D. = 0.92) โดยมีความยาวไม่เกิน 30 นาที (\bar{\chi } =  4.66, S.D. = 0.74) ด้านช่วงเวลาออกอากาศยังเป็นช่วงเวลาคงเดิม คือ 15.30 – 16.00 น. (\bar{\chi } =  3.81, S.D. = 0.87) ผู้ดำเนินรายการใช้ภาษาท้องถิ่นในการดำเนินรายการ (\bar{\chi }= 4.27, S.D. = 0.56) และมีความเป็นกันเอง (\bar{\chi } =  4.26, S.D. = 0.36)  เนื้อหารายการมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก (\bar{\chi } =  4.26, S.D. = 0.58) 4) เพศที่แตกต่างของผู้รับชมรายการมีความต้องการต่อรายการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุที่แตกต่างกันมีความต้องการ ในช่วงเวลาออกอากาศและรูปแบบรายการ   ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การศึกษาที่แตกต่างกันมีความต้องการช่วงเวลาออกอากาศที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาชีพที่แตกต่างกันมีความต้องการด้านรูปแบบ การนำเสนอรายการ ความยาวของรายการ และช่วงเวลาออกอากาศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) การเปิดรับชมรายการที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อรูปแบบรายการ  ผู้ดำเนินรายการและความรู้ที่ได้รับจากรายการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

EXPOSURE ATTITUDE AND REQUIREMENT OF CONSUMPTIONIST THROUGH “LAO ROUENG LANNA” TELEVISION PROGRAM VIEWER.

The objectives of this research were to study 1) exposure to the television program “Lao Reuang Lanna” 2) attitudes about the program; 3) need for the program ; 4) the relationships between demographic factors and consumer need for the program; and 5) the relationships between consumer’ exposure to the program and their attitudes towards the program.

This was a survey research. The sample consisted of 400 viewers of the “Lao Reuang Lanna” program on NBT Chiang Mai TV station, chosen through stratified sampling. Data were collected using a questionnaire and statistically analyzed to find percentage, mean, standard deviation, t-test, One Way Anova and chi square.

The results showed that 1) the majority of samples said they watched the “Lao Reuang Lanna” program on NBT Chiang Mai TV station sometimes and when they did, they intended to watch it from the beginning to the end. Most said they had interested in the program because it taught them something that they could talk with other people, and they could use the information to pass down and participate in Lanna cultural traditions. 2) The viewers had a high level of positive attitude about every aspect of the program. (\bar{\chi } = 3.92, S.D. = 0.96) 3) For their demands, the majority of viewers wanted the program to have a documentary format (\bar{\chi } = 3.98, S.D. = 0.92), a length of 30 minutes, ( \bar{\chi } = 4.66, S.D. = 0.74) and be on aired at the usual time of 15:30-16:00, (\bar{\chi } = 3.81, S.D. = 0.87). They needed the program hosts to use local northern dialect, (\bar{\chi } = 4.27, S.D. = 0.56) and be casual, (\bar{\chi } = 4.26, S.D. = 0.36). They had a high demand for content about ways of life, tourism destinations, ancient sites, art and culture, (\bar{\chi } = 4.26, S.D. = 0.58). 4) Differences in viewers’ age were related to the difference in their demand for the program’s broadcast time and format. The Differences in viewers’ occupation was related to the difference in their demand for the program’s format, the length and the broadcast time, to a statistically significant degree at 0.05 confidence. 5) The Difference in the exposure to the program was related to the difference in viewers’ attitudes about the program format, the program hosts, and the knowledge that they gained from the program.

Article Details

How to Cite
พูนศรีโชติ ภ., & ทองรินทร์ ส. (2016). การเปิดรับ ทัศนคติ และความต้องการของผู้ชมที่มีต่อรายการโทรทัศน์ “เล่าเรื่องล้านนา”. Journal of Graduate Research, 7(1), 153–168. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96478
Section
Research Article