ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุรากรี หนูแบน
อารยา ปรานประวิตร
สาโรจน์ เพชรมณี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน  2557 ที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ โรงพยาบาลวิภาวดี อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน เลือกเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) กลุ่มทดลองได้รับการอบรมให้ความรู้และเพิ่มการรับรู้ แบ่งเป็น 5 ฐาน ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน  การรับรู้เรื่องโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงต่อโรคเบาหวาน อาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรค การออกกำลังกายและการผ่อนคลายความเครียด ในสัปดาห์ที่ 1 การเยี่ยมบ้านในสัปดาห์ ที่ 2 และ 6 รวมถึงนัดหมายการรวมกลุ่มในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Independent t – test และ paired t - test

ในภาพรวมการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ในทุกด้านทั้งการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบา หวาน และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน เช่นเดียวกับ ในส่วนของพฤติกรรมการป้องกันโรค กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานดีกว่าก่อน ทดลอง และดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ทั้งในด้านการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพที่จำเป็น และการจัดการความเครียด

 

EFFECTS OF GROUP PROCESS AND HEALTH BELIEF MODEL ON SELF – CARE BEHAVIOR FOR PREVENTING DIABETES AMONG THE GROUP AT RISK OF DIABETES IN VIBHAWADI DISTRICT SURATTHANI PROVINCE.

This study was quasi-experimental research with two group pretest - posttest design. The objective was to study the effective of using group process and health belief model for selfcare behavior among the group at risk of diabetes in Vibhawadi District, Suratthani Province. The program consisted of group activities, to educate and increase awareness, which were divided into five bases , home visiting on week 2 and week 6, and making appointments for group activity on week 4 and 8 : whereas the control group was received normal health care. Research data were collected using questionnaires which were validated for their content by three experts. The results were analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation), independent t-test and paired t-test.

The results showed that after the intervention, the experimental group demonstrated higher mean score of perceived susceptibility, perceived severity, perceived severity and perceived barriers than the control group at the .05 level of significance. Furthermore, the experimental group also had overall self-care behavior for prevention of diabetes significantly better than at baseline (p < .05), and then the control group (p <.05) for all aspect assessed including diet control, exercise practice, essential health care and stress management.

Article Details

How to Cite
หนูแบน ส., ปรานประวิตร อ., & เพชรมณี ส. (2016). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Graduate Research, 7(1), 101–114. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96472
Section
Research Article