แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 ประชากรที่เกี่ยวข้องในการศึกษาคือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จังหวัดเชียงรายจำนวน 41 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท (Likert’s Rating Scale) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จังหวัดเชียงราย ที่มีผลการประเมินคุณภาพการภายในอยู่ในระดับดีมากจำนวน 2 โรงเรียน และระดับดีจำนวน 6 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open Ended) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในลำดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
2. แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สถานศึกษาควรมีการศึกษามาตรฐานและ ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะ กรรมการการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ในงานแต่ละด้านอย่างชัดเจน มีการกระจาย อำนาจการบริหาร ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการจัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดรับกับบริบทของสถานศึกษา มีการวางแผนการดำเนินงานตาม แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีการดำเนินงานตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด ในแผนปฏิบัติการ จัดให้มีการนิเทศติดตามการดำเนินงาน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยการจัดให้มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาสถาน ศึกษาภายใต้กระบวนการ PDCA
GUIDANCE OF THE INTERNAL QUALITY ASSURANCE IN THE SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA, OFFICE 36.
The purposes of this research were to study the conditions of the internal quality assurance and to find the guidance of the internal quality assurance in the secondary schools under the Secondary Educational Service Area, Office 36 Chiang Rai province.
The population for this study was 41 secondary schools under the Secondary Educational Service Area, Office 36 in Chiang Rai province. The instrument drawn for this study was Likert’s Rating Scale with a used questionnaire of the internal quality assurance. The sample groups for this study were 2 schools under the Secondary Education Service Area, Office 36 in Chiang Rai province which their internal quality assurance was excellent and 6 schools which their internal quality assurance was good. The respondents were consisted of the administrators and the operation committees responsible on the internal quality assurance. The instrument was the Open Ended questionnaire of the guidance for the internal quality assurance. The data was systematically analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The findings of this research are as follows:
1. The operation of the internal quality assurance in the secondary schools was high level. When separately considered, we found that the formulation of school standard was the highest and school educational planning and the administration and information system management.
2. The guidance of the internal quality assurance in the secondary schools: the schools should have education that is related to standards and metrics, should be prepared for the management structure of the operation. It was recommended that the provisions for the enhancement of the school’s staff nomination and defined the operation clearly, the management was decentralized and participants should be involved and understood their responsibilities. The schools’ appropriate educational development plan management served for their school contexts. The operation should be planned and according to the school’s educational development plan management and should be followed the procedure and time period of the working plan. In addition, on-site supervision and assessment as well as their self-assessment report have to be periodically performed following PDCA for school development.