การสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 93 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ผ่านประสบการณ์การใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน ในชั้นปีที่ 1 - 4 และมีประสบการณ์ในการใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาในระหว่างการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในชั้นปีที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาโดยเน้นกรอบทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ประเภทตรวจสอบความคิดเห็น 5 ระดับ ตามมุมมองของ Grigutsch, Raatz & Torner (1998 อ้างถึงใน Kaiser G. et al., 2007) ซึ่งประกอบด้วยมุมมองที่เป็นรูปแบบ (The formalism aspect) มุมมองที่เป็นโครงสร้างทางสมอง (The schematic aspect) มุมมองที่เป็นการประยุกต์ใช้ (The application aspect) และมุมมองที่เป็นกระบวนการ (The process aspect) ได้รับแบบสอบถามกลับจากกลุ่มประชากร จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 96.77
ผลการวิจัยพบว่า จากการสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา พบว่า นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษามีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ในมุมมองที่เป็นกระบวนการ (Process aspect) มีความเชื่อในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.10)
มุมมองที่เป็นการประยุกต์ใช้ (Application aspect) มีความเชื่อในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.41) มุมมองที่เป็นโครงสร้างทางสมอง (Schematic aspect) มีความเชื่อในระดับมาก ( = = 3.55, S.D. = 0.63) และมุมมองที่เป็นรูปแบบ (Formalism aspect) มีความเชื่อในระดับปาน กลาง ( = 2.96, S.D. = 0.26)
AN EXPLORING STUDENT INTERNS’ BELIEFS ABOUT THE NATURE OF MATHEMATICS USING MATHEMATICS TEXTBOOKS EMPHASIZED ON PROBLEM SOLVING.
This study aimed to explore student interns’ beliefs about the nature of mathematics using mathematics textbooks emphasized on problem solving. The population was 93 student interns, year 2014, Mathematics Education Program, Education, Khon Kaen University, previously they had experienced in learning mathematics emphasized on problem solving, while they studied the 1st-4th years and practiced teaching based on Lesson Study and Open Approach in the 5th year. The data was collected by using questionnaire (5-likert scale) based on theoretical framework of Grigutsch, Raatz & Törner (1998 cited in Kaiser et al. 2007), which had divided teachers’ belief about the nature of mathematics into 4 aspects: the formalism aspect, the schematic aspect, the application aspect and the process aspect 96.77% of respondents were received from questionnaire distribution among the population.
The results of student interns’ beliefs about the nature of mathematics showed that 1) student interns’ strongly agree believed that nature of mathematics as the process aspect ( = 4.58, S.D. = 0.10). 2.) Student interns’ agree believed that nature of mathematics as the application aspect ( = 4.14, S.D. = 0.41). 3) Agree believed that nature of mathematics as the schematic aspect ( = 3.55, S.D. = 0.63). 4) The other ones their disagree believed that nature of mathematics as formalism aspect ( = 2.96, S.D. = 0.26).