ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า แบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 8 จำนวน 45 คน เป็นกลุ่มควบคุม และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 10 จำนวน 43 คน เป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแบบปกติ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาค่า t – test ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนวรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3.คะแนนการตอบแบบทดสอบอัตนัยจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับ .01
EFFECTS OF INSTRUCTIONAL ACTIVITIES THROUGH LITERATURE KLON DOK SROY RUMPOENG NAI PAACHA INTEGRATING AND A LITERATURE-BASED APPROACH FOR MATTAYOMSUKSA 2 STUDENTS SUANBOONYOPATHUM LAMPHUN SCHOOL.
The objectives of this research was to compare learning achievement of Instructional Activities through Literature Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha Intergrating and a Literaturebased Approach with a conventional instruction. The sample for this study was students in Mattayomsuksa 2 during the first semester of the 2014 academic year at Suanboonyopathum Lamphun School, Amphoe Maung, Lamphun Province. The specific sample group was divided into two groups: a control group with 45 students and an experimental group with 43 students. The instruments were 1) the lesson plans of Instructional Activities through Literature Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha Intergrating and a Literature-based Approach 2) the lesson plans of the conventional instruction Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha 3) the achievement test. The data were analyzed by using arithmetic mean and t-test. The results of this research were as follows 1) The learning achievement before learning Literature Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha of the experimental group and the control group were not different. 2) The learning achievement after learning Literature Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha of the experimental group was higher than the control group at .01 level of significant. 3) The arithmetic mean of the subjective test from the achievement test after learning Literature Klon Dok Sroy Rumpoeng Nai Paacha of the experimental group was higher than the control group.