การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

รมินตรา วรงค์ปกรณ์
ศศิธร อินตุ่น
ยุพิน อินทะยะ

Abstract

การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้สื่อสภาพจริง ศึกษาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้สื่อสภาพจริง โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด และศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนระหว่างเรียนโดยใช้สื่อสภาพจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านก่อนและหลังเรียนแบบทดสอบความสามารถในการเขียนหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (\mu) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (\dpi{80} \alpha)และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อสภาพจริงมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 22.83 มีความสามารถในการเขียนหลังการใช้สื่อสภาพจริง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและมีความสามารถในการอ่านและการเขียนระหว่างเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

 

USING AUTHENTIC MATERIALS TO DEVELOP READING AND WRITING ABILITIES OF MATHAYOM SUKSA 3 STUDENTS.

The objectives of this investigation were to compare reading ability of MathayomSuksa 3 students before and after the use of authentic materials, to examine their writing ability after the implementation of the materials by comparing with the designated criteria, and to study their reading and writing ability during the implementation of the materials by comparing with the criteri

The population involved in this study were 24 students at BorLuang School, Hod District, Chiang Mai Province, in the second semester of the 2015 academic year. The research instruments included learning management plans, reading pre - and posttests, a writing posttest, and a reading and writing evaluation during the implementation of the materials. The data were analyzed for mean, standard deviation, and percentage. The research findings reveal that their reading ability after the implementation were higher than those before the implementation at 22.83 % and their writing ability after the implementation weregood in overall. Furthermore, their reading and writing ability during the implementation of the materials were good in overall.

Article Details

How to Cite
วรงค์ปกรณ์ ร., อินตุ่น ศ., & อินทะยะ ย. (2016). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Graduate Research, 7(1), 15–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96433
Section
Research Article