การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

พิชญะ กันธิยะ
วีระศักดิ์ ชมภูคำ
สกล แก้วศิริ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาต้นที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากอย่างง่าย จำนวน 37 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบันได 5 ขั้นทั้งหมด 6 แผนการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t – test Dependent Samples) และทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม ทดสอบค่าt-test ผลการวิจัย พบว่า

1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นมีทักษะการการคิดวิเคราะห์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับดี

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น อยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจอันดับแรกเท่ากัน 3 รายการ คือ นักเรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองได้นักเรียนสามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผลและนักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นได้ค่าเฉลี่ย (\bar{\chi }) เท่ากับ 4.57 รองลงมา ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากันคือบรรยากาศของการเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนกล้าคิดกล้าตอบในการแสดงความคิดเห็นได้ค่าเฉลี่ย (\bar{\chi }) เท่ากับ 4.54 และอันดับสุดท้าย คือ กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาได้ค่าเฉลี่ย (\bar{\chi }) เท่ากับ 4.35

 

THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL THINKING SKILLS FOR SCIENCE THROUGH FIVE STEPS LEARNING MANAGEMENT OF SECONDARY SCHOOL.

The purposes of this research were (1) to compare the students’ analytical thinking skills between pre-learning and post-learning through five steps learning management, (2) to studythe learning achievement between pre-learning and post-learning through five steps learning management, (3) to study the students’ satisfaction in Mattayomsuksa 2 through five steps learning management. The 37 samples used weredrawn lots from five classes of Mattayomsuksa 2 in second semester, 2015 in Honsonsuksa School, Muang, Maehongson. The instruments were 1) the six lesson plans of five steps learning management: food and nutrients (3 hours), foods with energy (3 hours), food without energy (3 hours), eating with the right proportion (3 hours), contaminated food (3 hours), and addictive substances (3 hours) 2) the analytical measuring test, and 3) the satisfaction questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mode, mean, standard deviation, t-test dependent samples, average of one sample group, and t-test.

The findings showed that:

1) The students’ post-learning in analytical skills through five steps learning management was significantly higher than the pre-learning at 0.1, indicating at the good level of the whole analytical thinking skills.

2) The students’ post learning achievement through five steps was significantly higher than the pre-learning at 0.1

3) Thestudents’ satisfactionthroughfivesteps learning management wasatgoodlevel. The first threepoints of satisfaction were in the same range (\bar{\chi } = 4.57) : students’ constructionism, students’ reasonableness, and students’ assertive ideas. The second (\bar{\chi } = 4.54) was the atmosphere of students’ participation and students’ learning activities to express opinions. The last was the appropriate learning activities and content (\bar{\chi } = 4.35)

Article Details

How to Cite
กันธิยะ พ., ชมภูคำ ว., & แก้วศิริ ส. (2016). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Graduate Research, 7(2), 137–152. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96255
Section
Research Article