การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการ ทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศิลากาญจน์ รุ่งเรือง
วีระศักดิ์ ชมภูคำ
พิชญ์สินี ชมภูคำ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้  สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในเรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผน ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนเฉลี่ย และค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมทั้งผลทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า

1. แผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 78.70/ 77.50 และมีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 2) ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา 3) ขั้นดำเนินการตามแผน 4) ขั้นตรวจสอบผล สามารถพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

2. ผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 54.38 และ 93.00 ตามลำดับ และสูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการศึกษาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า นักเรียนมีทักษะการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับดี

 

THE DEVELOPMENT OF MATHTEMATICS APPLIED SOLVING PROBLEMS SKILLS AND GROUP WORKING SKILLS BY USING THE POLYA’S PROCESS WITH COOPERATIVE LEARNING MANEGMENT FOR STUDENT IN PRATOMSUKSA 6

The objectives of this investigation were to make and to find the efficiency of Lesson plans to solve applied mathematics problems by using the Polya’s process with cooperative learning management, to examine the results of the development of applied math ematics problem-solving skills by using the process, and to investigate group working skills in solving applied mathematics problems by using the process of Prathom Suksa 6 students and 75/75 efficiency index. The sample group was 26 students studying at The saban Pratoolee School, Muang District, Lamphun Province, in the second semester of the 2015 academic year.The group sampling method was utilized to select the sample group. The research instruments included 1) 16 learning management plans with each plan requiring one hour of implementation, 2) an applied mathematics problem-solving skill test, and 3) an evaluation to assess group working skills of the students. The data were analyzed for mean, percentage, and standard deviation, while the t-test was used to verify the hypotheses. The results are summarized as follows.

1. The lesson plans to solve applied math ematics problems by using the Polya’sprocess in cooperative learning management for students in pratomsuksa 6 That met the 78.70/77.50 by using 4 step in study were 1) Understanding problems, 2) Devising a pland, 3) Carring out the plan, 4) Looking Back. The result Showed that Lesson plans can to development in applied mathematics problems solving skills and group working skills.

2. The results of the development of the problem-solving skills revealed that the average scores of the post-test were higher than those of the pre-test, which were 54.38 and 93.00respectively. The scores were also higher than the standard criterion of 70%, which were statistically significant at .05.

3. The investigation on group working skills of the students revealed that their group working skills as group members were at the high level.

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ศ., ชมภูคำ ว., & ชมภูคำ พ. (2016). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการ ทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Graduate Research, 7(2), 107–121. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96245
Section
Research Article