การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา ของโพลยาและผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก 2. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้จากการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 37 คน เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว และ 3) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กันและทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม ทดสอบค่าซี (Z-test) ผลการวิจัย พบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ได้พัฒนาทั้งหมด 3 ชุดกิจกรรม ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชุดที่ 2 เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว และ ชุดที่ 3 เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการกำลังสองตัวแปรเดียว
2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว มีผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลการเรียนรู้เฉลี่ยร้อยละ 69.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 65 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมีความรับผิดชอบ อยู่ในระดับดีมาก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอื่นที่เหลือ คือการทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดีและนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ค่อนข้างมาก
DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY PACKAGES BY USING THE POLYA’S PROBLEM SOLVING PROCESS AND GRAPHIC ORGANIZERS TO ENHANCE MATHAYOM SUKSA 2 STUDENTS’S LEARNING OUTCOMES.
The purposes of this study were: 1. to develop the learning activity packages by using the Polya’s problem solving process and graphic organizers, 2. to study the students’s learning outcomes after using the learning activity packages with the Polya’s problem solving process and graphic organizers of Mathayom suksa 2 students on knowledge , process skills and the desirable characteristics in mathematics. Using cluster sampling method, a sample of 37 cases was drawn from Mathayomsuksa 2 students who are currently studying in the second semester of the academic year 2015 at Chiangdaowittayakom School, Chiang Mai. Instruments were: 1) the learning activity packages with the Polya’s problem solving process and graphic organizers, 2) thetest on knowledge and process skills regarding quadratic equation of onevariable, and 3) an evaluation model for assessment of the desirable characteristics in mathematics. Data were analyzed using percentage, mean, mode, standard deviation, t-test for dependent samples, and Z-test.
The results of the study were as follows:
1) Thelearningactivitypackages withthePolya’sproblem solvingprocessandgraphic organizers for Mathayomsuksa 2 students on Quadratic Equation with one variable to develop 3learning activity packages including Set 1:Factoring of Polynomials Set 2: Quadratic Equation with one variable, and Set 3: Word Problems about Quadratic Equation with one variable.
2) General achievement after the use of learning activity packages with the Polya’s problem solving process and graphic organizers of Mathayom suksa 2 students on knowledge and Process skills were significantly higher than pre-test scores at the level of confidence of 0.01. The percentage of students’s learning outcome was 69.95, which was higher than the average percentage of 65. In terms of desirable characteristics assessment in mathematic, the characteristics of responsibility of Mathayomsuksa 2 students ranked at the level of excellence. The systematic performance, disciplined, considerable and self-confident characteristics ranked at the good level. The level of awareness and attitude towards Mathematics was quite good.