ผลการจัดการเรียนรู้แบบพีโอดีเอส ต่อมโนมติเรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบพีโอดีเอส ที่มีต่อมโนมติวิทยาศาสตร์เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่ลาย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบพีโอดีเอส เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จำนวน 6 ชุด ซึ่งผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ในการสอนเนื้อหาใช้เวลาสอน 22 คาบ และ 8 สัปดาห์ และ 2) แบบวัดมโนมติวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ากระแสตรง (KR-20 = 0.73) การวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้แบบพีโอดีเอส ต่อมโนมติไฟฟ้ากระแสตรงโดยการประเมินผลการเรียนรู้เชิงมโนมติด้วยวิธีการทดสอบก่อนและหลังเรียนและหาค่า Class Average Normalized gain <g> ของนักเรียนทั้งกลุ่มพบว่ามีค่าเท่ากับ 0.40 แสดงว่ามโนมติของนักเรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ากระแสตรงดีขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบพีโอดีเอส เพื่อให้ผู้สอนได้พัฒนากลวิธีการทำให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นในการเรียน ผ่านการเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรง
THE EFFECTS OF PODS LEARNING MANAGEMENT ON DIRECT CURRENT ELECTRIC CIRCUIT CONCEPTS OF MATHAYOM SUKSA 3 STUDENTS
This research was aimed to study the effect of PODS learning management on conceptual understanding of 29 Mathayom Suksa 3 students of Baan Mae Lai School, Hod, Chiang Mai, in a science course on the topic of direct electric current circuit. This study was carried out in the first semester of 2015 academic year. The research tools were 1) a total of 6 pre-designed learning modules based on PODS learning managemetn which were examined by a number of experts in the subject area and 2) an inventory of direct electric current circuit concept (KR-20 = 0.73). Theanalysis ofpreandpost scores wasdoneto seetheclassaverage normalizedgainandit is seenthat thegainis0.40, medium gain, whichindicates that thePODS learning managementemployedinthis studyhelps improvestudents’ concept ina medium level. The results of this study help insight how the PODS can be employed into the classroom to encourage a more student-centered engagement through the concept of direct electric circuit.