ผลการจัดการเรียนรู้แบบ ดี เอส แอล เอ็ม ที่มีต่อมโนมติการเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ ดี เอส แอล เอ็ม ที่มีต่อมโนมติเรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง การวิจัยได้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 31 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ผู้วิจัย ได้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ดี เอส แอล เอ็ม จำนวน 6 แผนการเรียนรู้ โดยได้ให้ครูผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาทำการประเมิน พร้อมทั้งผู้วิจัยออกแบบแบบทดสอบวัดมโนมติ โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาทำการประเมินเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือและจากการทดลองใช้เครื่องมือดังกล่าว พบว่า ได้ค่า ความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.81 ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียนในวันแรกของการเปิดภาคเรียนและทำการทดสอบหลังเรียนหลังจากที่สอนเนื้อหาจบประมาณ 2 สัปดาห์ การจัดการเรียนรู้ใช้เวลา 5 สัปดาห์ สำหรับการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดและทำการคำนวณค่า Average Normalized Gain เพื่อดูผลของการเปลี่ยนแปลงของความเข้าใจเชิงมโนมติ ผลการวิจัย พบว่า ค่า Average Normalized Gain มีค่าเท่ากับ 0.24 แสดงว่า ความเข้าใจ เชิงมโนมติของนักเรียนเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ ดี เอส แอล เอ็ม ที่ใช้ในการวิจัยนี้จะต้องมีการปรับปรุงสำหรับการพัฒนาความเข้าใจเชิงมโนมติเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรงของนักเรียนและจากผลการวิจัยทำให้พบข้อมูลมโนมติคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรงของนักเรียนหลายประการ
THE EFFECTS OF THE DSLM LEARNING MANAGEMENT ON LINEAR MOTION CONCEPTS OF MATHAYOM SUKSA 4 STUDENTS
The purposes of this research was to study the effect of the DSLM learning management on students’ concept understanding on the topic of linear motion in a secondary level physics course. The study was carried out in the first semester of the 2015 academic year. The population were a class of 31 grade-10 students of Bankadwittayakom School, Maewang, Chiang Mai. A total of 6 DSLM-based lesson plans were designed and examined by expert teachers in the subject area. A concept inventory was developed and later was examined by a number of experts in the subject to see the validity. The trying out process of the concept inventory provides the reliability index (KR-20) of 0.81. The pre-test were administered in the starting day of the semester and the post-test was done a couple weeks after the topics were covered. The classroom engagement took 5 weeks to cover the materials. The class average normalized gain was calculated to see the students’ concept understanding. It is seen that the class average normalized gain, is 0.24 which implies that the gain is lying in the low region. The result indicates that the DSLM learning management employed in this study needed to be refined in term of improving students’ concept understanding of the linear motion concepts. The student’s misconceptions in the topics are also reported.