กระบวนการพัฒนาต้นแบบชุมชนบริหารจัดการตนเอง: กรณีของตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ยนตรการ จินะคำปา
ศิวรักษ์ ศิวารมย์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนในรูปแบบชุมชนบริหารจัดการตนเองให้บรรลุผล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกแก่ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 19 ท่าน รวมทั้งการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  ผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีกระบวนการบริหารชุมชนด้วยการส่งต่อความยั่งยืนของชุมชนโดยมีกระบวนการพัฒนาชุมชนคือ ชุมชนมีเป้าหมาย มีทิศทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้สืบทอดไปยังคนรุ่นหลัง มีระบบฐานข้อมูลที่สำคัญของชุมชนที่สามารถนำไปวางแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาจนเกิดแผนพัฒนาชุมชนเอง โดยมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ในระดับตำบล ที่ครอบคลุมในด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ เด็ก-เยาวชน ยาเสพติด สามารถปฏิบัติตามแผนชุมชนร่วมกันของคนในพื้นที่และถูกจัดการแก้ไขตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในการพัฒนา เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนา และติดตามตรวจสอบอย่างเป็นรูปธรรม ชุมชนมีการจัดการปัญหาในชุมชนโดยใช้ประชาชนเป็นหลัก มีองค์กรชุมชนที่หลากหลายเป็นพื้นฐานของการทำงานด้านการพัฒนา มีการจัดการทุนชุมชนทั้งทุนทรัพยากร ทุนสิ่งแวดล้อม ทุนการเงิน และทุนภูมิปัญญา เกิดระบบสวัสดิการเพื่อสร้างความมั่นคงเพียงพอต่อชีวิต และการอยู่ร่วมกันของชุมชนได้อย่างยั่งยืน เกิดความสัมพันธ์ของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น สร้างกระบวนการขององค์กรชุมชน เกิดการเรียนรู้ และมีแหล่งเรียนรู้ระดับตำบล มีระบบการจัดการความรู้ ทางด้านภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม มีบทเรียนเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ และชุมชนอื่นต่อไป คนในชุมชนมีความสุข มีความเป็นเจ้าของชุมชน มีระเบียบกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน มีความผูกพันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เกิดความสัมพันธ์ในการร่วมกันของทุกคนในชุมชน สร้างระบบการพัฒนาคนจากรุ่นสู่รุ่น มีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดต่อเจตนารมณ์ ยึดตามหลักธรรมาภิบาล ความน่าเชื่อถือในการดำเนินงาน และมีระบบการตรวจสอบการทำงานของชุมชน ที่ทุกคนสามารถสอบถาม ในการพัฒนาชุมชน และหาข้อสรุปได้ โดยแนวคิดการพัฒนาชุมชนบริหารจัดการตนเอง ทำให้ชุมชนเข็มแข็ง ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข จากกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองประพฤติปฏิบัติจนเกิดความภูมิใจ ส่งผลที่ดีต่อตนเอง และชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่อย่างยั่งยืน

 

DEVELOPMENT OF COMMUNITY SELF-MANAGEMENT MODEL: THE CASE OF CHOMPOO SUB-DISTRICT SARAPEE DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE

This study aims to investigate and analyze the process of community development whereincommunitiesachieveself management inthecontextof thecommunitydevelopment processunder local management Qualitativeresearch methods suchas studyingdocuments, and in-depth interviews, were applied. Data were collected from 19 persons, and included non-participant observation. The study and analysis of information that a community management process must focus on the development of sustainable. There are the projects local community level and including an important community information system. That is addressed matters of economics, society, health, natural resources, children and youth, and problem of drugs. These plans must be integrated into local plans, and implemented and monitored to the extent that problems are jointly recognized and responded to through participatory and systematic management plans. The land is managed in the community with community capital resources, capital environmental costs and wisdom with the welfare system in order to create enough stability for life and coexistence of the community in a sustainable manner. The process management have relationships of a group of local organizations with multi-party cooperation and collaboration among community leaders and citizens in directing the movement of the organization. This involves common rules, regulations and binding mutual assistance, involving regular engagement of the community with network linkages, synergy at all levels and community creation. The concept of community development and community management requires a focus on strong sustainability, with the goal of individual self-reliance. The learning process and the participation of citizens in a community give people the opportunity to join in the decision analysis/making process and comply with the plan ensuring the quality of life in the family and community. Evaluation of project activities in the community is conducted together and has led to the development of Communitycooperation. This results in the people in a community appreciate the work and the results from their own community and local lifestyle.

Article Details

How to Cite
จินะคำปา ย., & ศิวารมย์ ศ. (2017). กระบวนการพัฒนาต้นแบบชุมชนบริหารจัดการตนเอง: กรณีของตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Graduate Research, 8(1), 183–197. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/95826
Section
Research Article