รูปแบบบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อนำเสนอรูปแบบบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทาง การบริหารพลศึกษาตามโครงสร้างซีทในโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สังกัดกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและแนวทาง การบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพหานคร พบว่า โรงเรียนมีการบริหารพลศึกษาอยู่ในระดับมาก รูปแบบบริหารพลศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน 45 ตัวชี้วัด คือ 1. ด้านหลักสูตรพลศึกษา ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด 2. ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด 3. ด้านนักเรียน ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด 4. ด้านครูผู้สอน ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด 5. ด้านการบริหาร ประกอบด้วย 15 ตัวชี้วัด และผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากและมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
AN ADMINISTRATION MODEL FOR INCLUSIVE PHYSICAL EDUCATION OF CHILDREN WITH SPECIAL NEEDS IN PRIMARY SCHOOL UNDER BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
The purpose of this research was to propose an administration model for inclusive physical education of children with special needs in primary school under Bangkok metropolitan administration. The study was conducted in three stages: Stage One - A study of current administration models for inclusive physical education of children with special needs and associated problems in primary school in the under Bangkok metropolitan administration was carried out. Stage Two - An administration model for inclusive physical education of children with special needs in primary school was proposed. Stage Three - The administration model for inclusive physical education of children with special needs in primary schools was verified. The sample was twenty two experts. The tool used for this study was an evaluation form. Statistics used were mean and standard deviation. The results showed that administration models were operating at a high level. The administration model for inclusive physical education of children with special needs in primary school (PESTA model) was proposed. The five aspects, consisting of forty five indicators are as follows: 1. The Physical Education curriculum aspect with of six indicators. 2. The environment aspect with seven indicators. 3. Students aspect with seven indicators. 4. Teachers aspect with of ten indicators. 5. Administration aspect with fifteen indicators. The verification by twenty two experts found as following: 1. Accuracy was at the very high level; 2. Propriety was at the high level; 3. Utility was at the very high level.