การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ สำหรับเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ สำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติสำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา มีดังนี้ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ คือ ครูสังคมศึกษาในจังหวัดเชียงราย จำนวน 320 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภัยพิบัติและผู้เชี่ยวชาญทางด้านจัดการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 คน 3) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย จำนวน 160 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม คู่มือจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ แบบประเมินความเหมาะสม แบบทดสอบเรื่องภัยพิบัติ แบบสังเกตการปฏิบัติตนในการรับมือภัยพิบัติ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ภัยพิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ สำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย มีดังนี้ 1.1) ความต้องการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และควรเน้นให้ความรู้ภัยพิบัติที่เกิดในท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย การเตรียมรับมือและเอาตัวรอดโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เน้นการปฏิบัติและมีการเรียนรู้ร่วมกัน 1.2) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ สำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติสำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย พบว่า 2.1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยนักเรียนระดับประถมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยหลังร่วมกิจกรรม 17.07 (ระดับดีมาก) ส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยหลังร่วมกิจกรรม 17.18 (ระดับดีมาก) 2.2) นักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภัยพิบัติมีความคิดเห็นที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Akkarapongpaiboon, T., Chirinang, P., Raktham, A., & Fuangchan, S. (2020). Integrating disaster management in the 4.0 era. Journal of Administrative and Management Innovation, 8(3), 14-23. [in Thai]
Banchee, P. (2020). 'Chiang Rai' is flooded, Statement on dealing with 3 disasters. Retrieved from https://www.77kaoded.com/news/petay/1404209 [in Thai]
Federal Emergency Management Agency (FEMA). (2006). Principles of emergency management. Retrieved from http://www.rn.org/courses/coursematerial-80.pdf
Health and Education Department. (2010). Disaster and emergency preparedness: Activity guide for K to 6th grade teachers. Washington, DC: International Finance Cooperation. Retrieved from https://inee.org/sites/default/files/resources/IFC_Disaster_Emergency_Prep_Schools_Guide_ ENG.pdf?fbclid=IwAR0ZQN5j-L-SugAfwqAt0bDhoAQ5hdp7lH8tidZa0lfPj29rghVJPFD-pz4
Jantakoon, J. (2015). Disaster education: Learning approach to disaster preparedness activities (Part 1). Journal of Education Naresuan University, 16(4), 188-201. [in Thai]
Jantakoon, J. (2016). Disaster education: Learning approach to disaster preparedness activities (Part 2). Journal of Education Naresuan University, 18(3), 364-376. [in Thai]
Jantakoon, J., Klincharoen, K., & Wattanatorn, A. (2021). The Development of earthquake preparedness capacity of students by using activity – Based learning: A Case of Mae Lao Wittayakom School, Chiang Rai Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(12), 122-137. [in Thai]
Kosonkittiumporn, S., Loiwirat, T., Watthanakul, P., & Juansang, A. (2020). Disaster management approaches: From public sector to communities. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 348-360. [in Thai]
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Manager Online. (2021). Final flood! Rain hits Shan State-Water overflows over bridge edge border market Mae Sai-Tachileik sinks to the chest. Retrieved from https://mgronline.com/local/detail/9640000107962 [in Thai]
Masatienwong, C. (2012). Lessons from the great flood and new learning for children and youth. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]
Office of the Basic Education Commission. (2012). Guidelines for disaster management in educational institutions and educational service area. Bangkok: Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel Printing. [in Thai]
Panyaprouks, S. (2019). Stepping into new learning management in the 21st century. (2th ed.). Bangkok: Danex Intercorporation Company Limited. [in Thai]
Patphol, M. (2019). Designing innovative curriculum. Bangkok: Curriculum and Learning Innovation Leadership Center. [in Thai]
Pitakpakawiwat, N. (2021). The development of learning activities by using case - based learning that promote capacity to cope with disasters of Mathayom 1 students. (Master’s Independent Study, Naresuan University). [in Thai]
Provincial Community Development Office of Chiang Rai. (2021). Summary of the results of collecting basic necessity and basic level information, Village level, Chiang Rai province 2019. Retrieved from https://chiangrai.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/14/2019/07/0019.3-_%E0%B8%A717288.pdf [in Thai]
Saengloetuthai, J., Thongnin, P., Booncherdchoo, N., Maneerat, C., Srisopha, Y, & Takomsane, M. (2020). Action learning. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 10(3), 155-163. [in Thai]
Sinthapanon, S. (2015). Learning management for modern teachers to develop students' skills in the 21st century. Bangkok: 9119 Technic Printing. [in Thai]
Thanachaikhan, N. (2009). Statistics for research. Chiang Rai: Faculty of Science and Technology, Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]
United Nations Children’s Fund (UNICEF). (2021). The climate crisis is a child rights crisis: Introducing the children’s climate risk index. Retrieved from http://www.unicef.org/thailand/media/7731/file/The%20climate%20crisis%20is%20a%20child%20rights%20crisis%20EN.pdf
Wannasri, J. (2020). Innovation for educational institution development. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3. [in Thai]
Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Heart of learning. Bangkok: The Graduate School of Srinakharinwirot University. [in Thai]