รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะของโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ สำหรับโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะตามกระบวนการบริหาร POSDCoRB และ 3) ประเมินผลรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะตามกระบวนการบริหาร POSDCoRB สำหรับโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 17 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 33 คน โรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา 3 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม แบบประเมินองค์ประกอบและรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินผลรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะสำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากร แบบประเมินประสิทธิภาพแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ และแบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ สำหรับโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ มี 5 องค์ประกอบ (CLEAN) ประกอบด้วย การร่วมมือ (Collaboration), ภาวะผู้นำ (Leadership), คุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน (Ethics and Morality), การรับรู้ (Awareness), และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) 2) รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะตามกระบวนการบริหาร POSDCoRB ประกอบด้วย การวางแผนงาน การจัดการองค์กร การจัดสรรบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การรายงานผล และการงบประมาณ และ 3) รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะตามกระบวนการบริหาร POSDCoRB สำหรับโรงเรียนบ้านนามนมีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). คู่มือโรงเรียนปลอดขยะ Zero waste school. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กิติยาภรณ์ รักษาพราหมณ์. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองทัพอากาศ กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
กุณภาณัฏฐ์ สุวรรณนุรักษ์, อรุณ ไชยนิตย์ และภานุพงศ์ สามารถ. (2563). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพองค์การ กรณีศึกษา: สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11). 147-165.
กู้เกียรติ แดงสีดา. (2563). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
เกษม แก้วสนั่น และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2564). การจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จ. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(4), 88-108.
คณาธิป อินทนิจ, จันทรัตน์ ภคมาศ และสมหญิง จันทรุไทย. (2564). การมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของบุคลากรภาคีเครือข่ายท่าตูม 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(3), 31-44.
คำรณ สิระธนกุล, สุจิน สุนีย์ และกิติพงษ์ แซ่เฮ็ง. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
จรุงจิต สมบัติวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(2), 17-32.
ชุติมาพร เชาวน์ไว. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).
ฐาณิศรา กาบบัวศรี. (2562). เทคนิคและกระบวนการ POSDCoRB. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 15-22.
แดนไทย ต๊ะวิไชย, สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2561). ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(2), 17-23.
ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์, พระครูวิทิต ศาสนทร และชาลี ภักดี. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 115-130.
ธนวัฒน์ คงมณี, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ และณัฐิยา ตันตรานนท์ (2564). การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการขยะในโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. ใน 3rd National and International Virtual Conference on Multidisciplinary Research (น. 9 - 16), 20 สิงหาคม 2564. สาธารณรัฐทูร์เคีย: Manisa Celal Bayar University.
ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 55-68.
นันทยา วงศ์ชัย และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2565). แนวทางการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(3), 486-499.
นิวุธ มีพันธ์, ประพันธ์ ธรรมไชย, สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2563). ตัวแบบภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 110-123.
ปริยวิศว์ วงษ์จันทร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียน ขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 3(3), 53-82.
พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูร,วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล, โกศล มีคุณ และอัจฉรา วัฒนาณรงค์. (2564). ธรรมาภิบาล : หัวใจของการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 16(1), 1-14.
พรทิพย์ เพ็งกลัด และสายสุดา เตียเจริญ. (2562). การสื่อสารของผู้บริหารกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 734-750.
พรทิพย์ สุขเอียด. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116. ตอนที่ 74 ก, หน้า 1–23.
พุทธินันทน์ บุญเรือง, สมเกตุ อุทธโยธา, สำเนา หมื่นแจ่ม และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 109-118.
ภัทรานิษฐ์ ปริญญากุลเสฏฐ์. (2564). โมเดลจัดการขยะมูลฝอยแบบ Zero waste สำหรับสถานศึกษา. นครราชสีมา: เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง.
รัชนิกร อินทเชื้อ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์).
รัฐพล ฤทธิธรรม และโพชณ์ จันทร์โพธิ์. (2561). ภาวะผู้นำและมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสมัยใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 20-33.
รัตติกร โสมสมบัติ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
วนิดา หรีกประโคน. (2563). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
วรมน เหลืองสังวาล. (2561). แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วันเพ็ญ วัดน้อย และสุนันทา สมวจีเลิศ. (2561). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 6 ประจำปี 2561 (น. 1196-1207), 22 มิถุนายน 2561. เพชรบุรี: โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
วิมลชญาน์ สถิตสุนทรพันธ์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ. (2562). อิทธิบาทธรรมกับการบริหารองค์การ. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 56–62.
สาธิต ทิพย์มณี และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). POSDCoRB และ Good Governance สำหรับธุรกิจเกิดใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 73-88.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2562). รายงานการวิจัยการศึกษาการบริหารจัดการขยะของสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. ปทุมธานี: กลุ่มพัฒนาการศึกษา.
สุคนธา บุญลือ, อัจฉรา นิยมาภา และกานดา สกุลธนะศักดิ์มัวร์. (2561). กระบวนการนิเทศการสอนของโรงเรียนนวมิน ทราชินูทิศหอวังนนทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(3), 49-67.
สุดา มงคลสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5843-5859.
เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2561). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 187-196.
อรวี แสงทอง และรัตนา กาญจนพันธุ์. (2564).คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(5), 91-104.
Sawetrattanakul, S., Jansri, N. S., Tantranont, N., & Setthapun, W. (2019). Appropriate guidelines of waste management for Keudchang sub-district, Maetang district, Chiang Mai province, Thailand. Asian Journal of Applied Research for Community Development and Empowerment, 3(1), 6-8.
Tantranont, N., Saipa, S., & Sawatdeenarunat, C. (2021). The study of success factors and beneficial values for school management in energy and environment. Journal of Renewable Energy and Smart Grid Technology, 16(2), 43-55.