รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการในกีฬาวอลเลย์บอล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้เชิงรุก 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก 3)) ทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการในกีฬาวอลเลย์บอล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โรงเรียนละ 3 คน รวม 6 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ฯ แบบทดสอบความรู้กีฬาวอลเลย์บอลในรายวิชาพลศึกษา แบบทดสอบการเรียนรู้ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล และแบบทดสอบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าสมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยม ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติ t แบบ Paired Sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการในกีฬาวอลเลย์บอล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ต้องการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานและสมรรถภาพทางกาย ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องมีความยืดหยุ่นและบูรณาการสอนที่หลากหลาย ด้านเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนมีการเรียนรู้ทฤษฎีควบคู่การปฏิบัติ ด้านสื่อและอุปกรณ์การสอนต้องเพียงพอเหมาะสมในสถานการณ์เรียนออนไลน์ ด้านเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเวลาเรียนในโครงสร้างหลักสูตรต่อสัปดาห์ ควรมากกว่า 1 ชั่วโมง ด้านการวัดผลและประเมินผลควรประเมินตามสภาพจริง ครอบคลุมทักษะทั้ง 5 ด้าน 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการในกีฬาวอลเลย์บอล ประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้เชิงรุก 8 แผน แต่ละแผนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ศึกษาด้วยตนเอง ขั้นที่ 2 ประเมินความสามารถ ขั้นที่ 3 กำหนดกลุ่มร่วมมือ ขั้นที่ 4 เรียนรู้ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์ด้วยผลงานกลุ่ม ขั้นที่ 6 นำเสนอผลงาน ขั้นที่ 7 ร่วมสรุปความรู้ และรูปแบบมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการในกีฬาวอลเลย์บอล มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้กีฬาวอลเลย์บอลในรายวิชาพลศึกษา ด้านการเรียนรู้ทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน, 6(2), 118-127.
เกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
จักรี จันทวี. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอล ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
จันทรา แซ่ลิ่ว. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด สนทนาภาษา อังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 7(4), 143–159.
ชูเกียรติ ไชยทวีวิวัฒน์กุล. (2564). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The twenty-first century skills). สืบค้นจาก http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=435
ฐานิตา ลิ่มวงศ์. (2562). “ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่21” (21stCentury skills). วารสารMahidol R2R e-Journal, 6(2), 9-17.
ณัฐวัณฏ์ รักษาทรัพย์. (2560). คู่มือการใช้งาน Google forms ฉบับปรับปรุง กรกฎาคม พ.ศ. 2560. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. Humanities, Social Sciences and arts, 12(2), 341-357.
ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี และเกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2563). การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19). HRD Journal, 12(1), 56-68.
โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). คู่มือนักเรียนและผู้ปกครองปีการศึกษา 2565. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัด ประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(Supplement), 8-21.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327–336.
พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning). สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/archives/296903
ไพฑูรย์ สินลารัตน, เฉลิมชัย มนูเสวต และวาสนา วิสฤตาภา. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 92-106.
วาสนา บุญมาก. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร).
วาสนา เจริญไทย. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พรินติ้งแมสโพรดักส์.
วิลาวรรณ พิมประสงค์. (2565). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21–vilawan-21-Google site. สืบค้นจาก https://sites.google.com
อุทัย คงแจ่ม. (2562). สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(1), 25-39.
อุษากร พันธุ์วานิช. (2558). การเรียนวิชายิมนาสติกตามการรับรู้ของผู้เรียน. วารสารคณะพลศึกษา, 18(1), 27-41.
อำนาจ บุญประเสริฐ. (2562). การพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์, 6(10), 6071-6081.
Batez, M. (2021). ICT skills of university students from the Faculty of Sport and Physical Education during the COVID-19 Pandemic. Stainability, 13(4), 1 - 13. สืบค้นจาก https://doi.org/10.3390/su13041711
Nuttaporn, S. (2019). The physical education instructional model based on active learning with lideo Model to promote teaching skill and personal awareness of teaching Thai traditional sports for student teachers. Scholar: Human Sciences, 11(2), 412-426.