คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบทดสอบคุณลักษณะความเป็นครู

Main Article Content

สุพัตรา สกุลศรีประเสริฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และองค์ประกอบของคุณลักษณะความเป็นครูและ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบคุณลักษณะความเป็นครู กลุ่มเป้าหมายเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียนทุกระดับชั้น และนักศึกษาในโครงการครูคืนถิ่น 80 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ 1,000 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มเชิงกลุ่ม 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบคุณลักษณะความเป็นครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และหาสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s α)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวชี้วัดและองค์ประกอบความเป็นครู มี 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านจิตวิญญาณความเป็นครู ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านบุคลิกภาพความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2) แบบทดสอบคุณลักษณะความเป็นครูมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ดี และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไคสแควร์ (gif.latex?x^{2} Goodness of Fit) มีนัยสำคัญ (gif.latex?x^{2}= 13.002* -274.053; p < 0.00) แยกตามรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (gif.latex?x^{2} = 121.289; p < 0.01, RMSEA = 0.024, SRMR = 0.033, CFI = 0.972 และ TLI = 0.963) ด้านจิตวิญญาณความเป็นครู (gif.latex?x^{2} = 84.572; p < 0.01, RMSEA = 0.025, SRMR = 0.030, CFI = 0.979 และ TLI = 0.971) ด้านใฝ่เรียนรู้ (gif.latex?x^{2}= 227.604; p < 0.01, RMSEA = 0.044, SRMR = 0.039, CFI = 0.932 และ TLI = 0.918) ด้านบุคลิกภาพความเป็นครู (gif.latex?x^{2}= 13.002; p < 0.01, RMSEA = 0.027, SRMR = 0.019, CFI = 0.990 และ TLI = 0.982) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (gif.latex?x^{2} =274.053; p < 0.01, RMSEA = 0.045, SRMR = 0.040, CFI = 0.922 และ TLI = 0.908) และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .90

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี). สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/056/T_0012.PDF

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, อภิชาติ อนุกูลเวช และดาวประกาย ระโส. (2564).จิตวิญญาณครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 398-409.

กิตินันท์ โนสุ. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดภาคเหนือตอนบน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 8(1), 53-65.

จักรแก้ว นามเมือง. (2560). บุคลิกภาพของครูและลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 2(1), 55-64.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2562).องค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ.วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(2), 153-164.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง, ดุษฎี โยเหลา, ปกรณ์ สิงห์สุริยา, และนิยะดา จิตต์จรัส. (2555). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 18(1), 55-65.

ธราญา จิตรชญาวณิช. (2560). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิทรา ฉิ่นไพศาล และพระครูสุจิตรัตนากร. (2559). คุณธรรมความเป็นครู. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 142-155.

นิวัตต์ น้อยมณี และกัญภร เอี่ยมพญา. (2560). จิตวิญญาณครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: 21 เซนจูรี่.

ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พระมงคลธรรมวิธาน,พระครูสิริธรรมนิเทศ และประสิทธิ์ สระทอง. (2561). ครูมืออาชีพสู่การเรียนรู้แบบมืออาชีพ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2486-2499.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 23-128.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2547). ครูดีผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ (ฉบับรายละเอียด). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34. (2563). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.secondarycm.go.th/web/wpcontent/uploads/2021/05/-63-.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://cid.buu.ac.th/standard/Standard%20Curr-2558-Book.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/index.php/page/view/Outstand/2532

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สภาพการจัดการศึกษาเฉพาะทางในประเทศไทย ปี 2556: การผลิตบุคลากร. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1444

อมรรัตน์ แก่นสาร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครูของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

อมรรัตน์ แก่นสาร, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครูของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 7-17.

อรอุมา เจริญสุข. (2559). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 189-208.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2561). การศึกษาคุณลักษณะของครูไทยในศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2557). การพัฒนาแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูของกลุ่มวิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 35-43.

Allen, M. J., and Yen, W. M. (2002). Introduction to measurement theory: Prospect heights. IL: Waveland Press.

Bhushan, V. (1974). Adaptation of an intelligence test from English to France. Journal of Education Measurement, 11(1), 43-48.

Charoenthaweesub, M & Hale, C. L. (2011(. Thai family communication patterns: Parent-adolescent communication and the Well-being of Thai families. In the First International Conference on Interdisciplinary Research and Development, Thailand. Retrieved from http://www.inrit2013.com/inrit2011/Proceedings2011/02_84_16E_Mathurada%20Charoenthaweesub_ [6].pdf

Hair, J., Anderson, R., Black, B., and Babin, B. (2016). Multivariate data analysis. Mishawaka: Pearson Education.

Koerner, A. F., & Fitzpatrick, M. A. (2006). Family communication patterns theory: A social cognitive approach. In Braithwaite D. O. & Baxter L. A. (Eds.), Engaging theories in family communication: Multiple perspectives (pp. 50–65). Thousand Oaks, CA: Sage Publications, Inc.

Livingston, S.A. (2018). Test reliability—basic concepts. Princeton, New Jersey: Educational Testing Service.

Middleton, F. (2022). The 4 types of reliability in research | definitions & examples. Scribbr. Retrieved from https://www.scribbr.com/methodology/types-of-reliability/

Rodgers, R. F., Schaefer, L. M., Thompson, J. K., Girard, M., Bertrand, M., and Chabrol, H. (2016). Psychometric properties of the Sociocultural Attitudes Towards Appearance Questionnaire-4 (SATAQ-4) in French women and men. Body Image, 17, 143-151.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A beginner's guide to structural equation modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Yamamiya, Y., Shimai, S., Schaefer, L. M., Thompson, J. K., Shroff, H., Sharma, R., and Ordaz, D.L. (2016). Psychometric properties and validation of the Sociocultural Attitudes Towards Appearance Questionnaire-4 (SATAQ-4) with a sample of Japanese adolescent girls. Body Image, 19(1), 89-97.