การร่วมผลิตในการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา: กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการร่วมผลิตในการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาคประชาชน ตัวแทนผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนร่วมพัฒนามีการจัดการศึกษาในลักษณะการร่วมผลิต ได้แก่ 1) การร่วมวางแผน โดยผู้สนับสนุนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป 2) การร่วมออกแบบกิจกรรม ผู้สนับสนุนและโรงเรียนร่วมออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับต้องการของชุมชน 3) การร่วมจัดส่งบริการ โรงเรียนทำหน้าที่หลักในการจัดการศึกษา และผู้สนับสนุนทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 4) การร่วมติดตามประเมินผล ผู้สนับสนุนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาทั้งระดับโครงการและระดับสถานศึกษา ตลอดจนเข้าเยี่ยมเยือนโรงเรียนเพื่อติดตามผลระหว่างการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นระยะ ๆ
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มสารสนเทศ สนผ.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldataview.php?School_ID=1021470133&AreaCODE=2101
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และอภิสรรค์ ภาชนะสวรรค์. (2563). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนหัวถนน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 13-28.
เกียรติศักดิ์ สุทธหลวง, วจี ปัญญาใส, นิตยา สุวรรณศรีและ มานี แสงหิรัญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านวิชาการโรงเรียนดีประจําตําบล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 70-84.
ทีมข่าวการเมือง แนวหน้า. (2562). ผ่าประเด็นร้อน ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศชาติ การปฏิรูปการศึกษาที่ไม่คืบหน้า. แนวหน้าออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/politic/columnist/42304
ไทยโพสต์. (2561). โรงเรียนมีชัยพัฒนา. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/7152#
ธีรเดช สนองทวีพร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพองค์การของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 1-14.
นิติกร วรรณชาและวิรัลพัทร วงศ์วัฒน์เกษม. (2562). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอำเภอเสลภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6: เรื่องสังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา (น. 747-757). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด. (2561). ธนาคารพัฒนาชุมชนและโรงเรียนบ้านหนองละลอก. สืบค้นจาก http://www.siw.co.th/index.php/th/ourstory/csr/130
ฟุกกล้าว ทิวากร, จุมพจน์ วนิชกุล และพาที เกศธนากร. (2562). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารการศึกษาตามแนวทางโรงเรียนร่วมพัฒนา ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภูมิภาคกลาง. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 8(29), 175-185.
มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี. (2563). เกี่ยวกับมูลนิธิ. สืบค้นจาก http://connexted.org/foundation/about
มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี. (2565). การประเมินคุณภาพโรงเรียน. สืบค้นจาก https://connexted.org/public/cned/assets/files/CONNEXTED_KPIs.pdf
ระเบียบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการกำหนดองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และจำนวนกรรมการสถานศึกษา สำหรับสถานศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา พ.ศ. 2561. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 17 ง วันที่ 17 มกราคม 2562 หน้า 5-6.
วิจารณ์ พานิช. ( 2564). การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในมุมของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช. สืบค้นจาก https://iamkru.com/2021/04/29/growth-mindset/
วิทยากร เชียงกูล. (2562). ปัญหาหลักของการศึกษาไทย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647483
สมหวัง พันธะลี และปภาวรินทร์ เรืองประจวบกุล. (2563). การศึกษาผลการสร้างเครือข่ายนิเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับนิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 121-133.
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน. (2564). โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา. สืบค้นจาก https://pda.or.th/current-project-psp-2020/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). กรอบแนวทางการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563). ม.ป.พ.: ม.ป.ท.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานผลการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของ กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th
อัญชิรญา จันทรปิฏก. (2563). บทวิเคราะห์ “บทบาทรัฐ-สาธารณะ” ในการจัดบริการสาธารณะตามแนวคิดการร่วมผลิต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(2), 240-247.
อัญชิรญา จันทรปิฏก. (2564). รูปแบบการร่วมผลิตในการดำเนินการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล).
อินโฟเควสท์ (RYT9). (2561). สยามลวดเหล็กฯ ตอกย้ำปณิธานเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนฉายความสำเร็จ School BIRD ต่อยอดชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/prg/2789680
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-hill.
Dhirathiti, N. (2018). Co-production and the provision of lifelong learning policy for elderly people in Thailand. Public Management Review, 21(7), 1011-1028. DOI: 10.1080/14719037.2018.1540723
Etgar, M. (2009). Ways of engaging consumers in co-production. Retrieved from https://timreview.ca/article/307
Hood, C. (1991). A public management for all seasons. Public Administration, 69(1), 3-19.
Löffler, E. (2009). A future research agenda for co-production: Overview Paper, In Local Authorities & Research Councils’ Initiative (2010) Co-production: A series of commissioned reports. Swindon: Research Councils UK.
Osborne, S. P., and Strokosch, K. (2013). It takes two to Tango? Understanding the co-production of public services by integrating the services management and public administration perspectives: It takes two to Tango?. British Journal of Management, 24, S31–S47. doi:10.1111/1467-8551.12010
Ostrom, E., Parks, R. B., Whitaker, G., P. and Percy, S.L. (1978). The public service production process: A framework for analysis police service. Policy Studies Journal, 7(S1), 381-389.
Strokosch, K. (2012). Understanding the coproduction of public service: A case of asylum seekers in Glasgow. (Business and Management Dissertation, Business School, University of Edinburgh).