การออกแบบหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการออกแบบหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จำนวน 2 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง จำนวน 176 คน และนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ จำนวน 176 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูผู้สอน แบบสอบถามผู้ปกครองและนักเรียน แบบประเมินหลักสูตร และแบบประเมินรายวิชา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ พบว่า หลักสูตรควรมีเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะและกระบวนการคิดขั้นสูง เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ครูผู้สอนควรมีความรู้ด้านเนื้อหาที่สอนอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ส่วนผู้ปกครองและนักเรียนมีความคาดหวังด้านเนื้อหา ด้านการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านผลลัพธ์ของผู้เรียน และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก และ 2) การออกแบบหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างเวลาเรียน 120 ชั่วโมง 4) โครงสร้างรายวิชา 6 รายวิชา 5) กิจกรรมการเรียนรู้เสนอแนะ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 7) บทบาทครู 8) บทบาทนักเรียน และ 9) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ทุกองค์ประกอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากขึ้นไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จงกล ทำสวน. (2560). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 123-140.
จักรแก้ว นามเมือง. (2560). บุคลิกภาพของครูและลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 2(1), 57-64.
จาตุรันต์ พันธวาส. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาโรงเรียนบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา).
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2560). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร).
บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศ คลองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก).
บุญรอด ชาติยานนท์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการโดยเน้นโครงงานเป็นฐานรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การปลูกพืชไร้ดินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
เบญจรัตน์ ราชฉวาง. (2563). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(2), 88-96.
พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 50-59.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2563). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา ค30295 โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการชี้นำตนเอง. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 249-268.
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. (2560). การประเมินการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ปีการศึกษา 2560. เชียงใหม่: โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.
วันทนา สิงห์นา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เสริมด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่อ มโนมติ ลม ฟ้า อากาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(พิเศษ), 80-93.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การศึกษาสภาพและรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย: กรณีผู้มีความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สุธาสินี พลอยขาว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).
สุภาวดี เสนภูงา. (2564). โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 172-184.
อำพล นิลสระคู. (2561). การวิเคราะห์หลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Deringol, Y. & Davasligil, U. (2020). The effect of differentiated mathematics programs on the mathematics attitude of gifted children. Malaysian Online Journal of Educational Sciences, 8(1), 27-37.
Hendel, D. (1977). Statistic AERA mini presentation, American Educational Research Association, 48(5), 82.