การพัฒนารูปแบบการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม และ 2) เปรียบเทียบความสามารถการปฏิบัติทักษะ ความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุม 2) แบบประเมินความสามารถการปฏิบัติทักษะมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุม และ 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ด้านกฎหมายและกฎการใช้กำลัง ส่วนที่ 2 ด้านกระบวนท่าการประยุกต์ใช้มวยไทยในการป้องกันตัวและการจับกุม จำนวน 10 ท่า และส่วนที่ 3 ด้านยุทธวิธีในการจับกุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม มีความสามารถการปฏิบัติทักษะและความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกมวยไทยเพื่อการป้องกันตัวและการจับกุมสูงกว่าก่อนการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage). สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1. (ครั้งที่พิมพ์ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คึกเดช กันตามระ. (2553). แม่ไม้มวยไทยศิลปะการป้องกันตัว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูพงศ์ จันทร์อรุณ. (2558). ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีต่อความสามารถในการเตะฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอล อายุ 13-15 ปี. สืบค้นจาก http://ns.nsru.ac.th/bitstream/nsru/140/1/ Chuphong_Chanarun.pdf
เช้า วาทโยธา. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมศิลปะมวยไทยโคราช เพื่อสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
ไทยรัฐออนไลน์. (2558). หนุมแว้นโหดสกรัม พ.ต.ท.สาหัส นอนคุกต่อ. สืบค้นจาก http://www.thairath.go.th/news/local/493014
นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
นุชรี ล่องแก้ว. (2556). การใช้กำลังบังคับของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ประไพร จันทะบัญฑิต. (2561). การพัฒนารูปแบบการฝึกมวยพระยาพิชัยดาบหัก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
ประสารศิษฐ์ ศรีศักดิ์. (2557). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
รุ่งอรุณ สุทธิพงษ์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรพิเศษครูมวยไทยสำหรับยอดนักมวยไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
วรชาติ บุรณศิริ. (2561). การป้องกันตัวและจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
วรภัสสร พันธ์เกษม. (2560). การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษากรณีบุคคลถูกทำร้ายอย่างต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วรยุทธ์ ทิพย์เที่ยงแท้. (2553). ลีลาไม้ตายมวยไทยของยอดนักมวยไทย. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์).
สมใจ รอดสุขเจริญ. (2559). ศิลปะป้องกันตัว. สืบค้นจาก https://rtnakm.com/wp-content/uploads /2017/07/ %E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.pdf
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). คู่มือการฝึกยุทธวิธีประจำสถานีตำรวจ. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สำราญ สุขแสวง. (2560ก). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกซ้อมมวยไทยสำหรับนักมวยไทยอาชีพ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามวยไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
สำราญ สุขแสวง. (2560ข). ตำราศาสตร์และศิลปมวยไทย. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
Eggen, P. D. & Kauchak, D. P. (2006). Strategies and Models for Teachers: Teaching content and thinking Skills. Boston: Pearson.
Koedijk, M., Renden, P. G., Oudejans, R. R. D., & Hutter, R. I. (2019). Training for the job: Evaluation of a self-defence training program for correctional officers. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/336408383_Training_for_the_job_Evaluation_of_a_selfdefence_training_program_for_correctional_officers
Savelsbergh, G. J., & Oudejansa, R. D. (2015). Dutch police officers' preparation and performance of their arrest and self-defence skills: A questionnaire study. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/ science/article/ abs/pii/S00036870150000 34
Torres, J. (2018). Predicting law enforcement confidence in going ‘hands-on’: The impact of martial arts training,
use-of-force self-efficacy, motivation, and apprehensiveness. Retrieved from https://www. researchgate.net/ publication/ 326583320_Predicting_law_enforcement_confidence_in_going_'hands-on'_the_impact_of_martial_ arts_ training_ use-of-force_selfefficacy_motivation_and_apprehensivenessand_apprehensiveness