ตัวแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ในประเทศไทย 2. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ในประเทศไทย 3. นำเสนอตัวแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย ใช้แบบสอบถาม
400 ชุดจากสมาชิก 17,335 คน โดยใช้สูตรของ Yamane และสัมภาษณ์ผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 4 แห่ง
สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากด้านประสิทธิผลของสหกรณ์ ( X = 3.80) รองลงมาด้านการบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ ( X = 3.76) 2. ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ การจัดการความรู้
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย 3. ค่าสถิติวัด
ความกลมกลืนของรูปแบบ คือ ค่าไค-สแควร์ (χ2) = 129.53, df = 72 (p = 0.13), GFI = 0.99, RMSEA = 0.044
จึงถือว่าตัวแบบสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ตัวแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทยประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการความรู้

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง