ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและความผูกพันของพนักงานกับประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการ
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลองค์การ บรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ความผูกพันของพนักงาน ธุรกิจบริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และความผูกพันของพนักงานกับประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการ
(2) วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และความผูกพันของพนักงานกับประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในธุรกิจบริการ 3 ประเภท คือ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวกับการสื่อสาร จำนวน 1,249 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ ประสิทธิผลองค์การ บรรยากาศองค์การ ความผูกพันของพนักงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ของประสิทธิผลองค์การกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.72 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 121.49
ค่า p-value เท่ากับ .00 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 61= 1.99 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.028 ประสิทธิผลองค์การได้รับอิทธิพลทางตรงมากที่สุดจากตัวแปรบรรยากาศองค์การ รองลงมาคือพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางบวกเท่ากับ0.97 และ0.15 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05 สำหรับตัวแปรบรรยากาศองค์การนั้นยังมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและความผูกพันของพนักงาน ส่วนตัวแปรความผูกพันของพนักงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการได้ร้อยละ 73
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง