ข้อพึงระวังในการใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากแหล่งเดียวในบริบทของประเทศเอเชียตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ท้วมรุ่งโรจน์ คณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

แบบสอบถามที่มีผู้ตอบเพียงผู้เดียว การใช้แบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลด้วยตนเอง ความแปรปรวนจากวิธีการวัด การใช้แบบสอบถามซึ่งมีการผสมผสานการใช้ข้อความเชิงบวกและข้อความเชิงลบหรือตรงข้าม

บทคัดย่อ

การใช้แบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลด้วยตนเองในการเก็บข้อมูลจากแหล่งเดียวหรือบุคคลเดียวเป็นวิธีการเก็บข้อมูลทั่วไปในสาขาวิชาสังคมศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำวิจัยทางธุรกิจ การตลาด และการจัดการ อีกทั้งการใช้มาตรวัดทัศนคติของลิเคอร์ท (Likert scale) หรือมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากความสะดวกในการสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลรวมถึงความสะดวกในการตอบคำถาม หากแต่ว่าวิธีการเก็บข้อมูลและมาตรวัดดังกล่าวอาจไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการผสมผสานการใช้ข้อความเชิงบวกและข้อความเชิงลบหรือข้อความตรงกันข้ามในมาตรวัดเดียวกัน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจเป็นเหตุของปัญหาความแปรปรวนจากวิธีการวัด หรือที่เรียกกันว่า Common Method Variance (CMV) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการอภิปรายผลวิจัย ปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในการเก็บข้อมูลจากประเทศเอเชียตะวันออกอันเนื่องมาจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม ดังนั้นงานวิจัยนี่จึงอธิบายปัญหาที่อาจซ้อนเร้นในวิธีการเก็บข้อมูลดังกล่าว แนะนำวิธีการตรวจสอบปัญหาเบื้องต้น นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และแสดงตัวอย่างการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ผู้วิจัยที่ใช้วิธีการคล้าย ๆ กันได้นำไปปฏิบัติในการการลดความผิดพลาดในการวิจัยต่อไปในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-03

How to Cite

ท้วมรุ่งโรจน์ อ. (2018). ข้อพึงระวังในการใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากแหล่งเดียวในบริบทของประเทศเอเชียตะวันออก. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 11–23. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/110949