ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญา ที่ทำกับลูกค้าที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กรัษนีย์ กรัษนัยรวิวงค์ บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด
  • ศิลปพร ศรีจั่นเพชร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพกำไร, รายการคงค้าง, มาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย ฉบับที่ 15

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของรายได้กับคุณภาพกำไร
โดยศึกษาคุณภาพกำไร จากการวิเคราะห์รายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหารด้วยการจัดการกำไรแบบ The Modified
Jones (Dechow, Sloan & Sweeney, 1995) และการจัดการกำไรของ Yoon, Miller and Jiraporn (2006) นำมาเปรียบเทียบกัน
ในช่วงก่อนและหลังการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
มาใช้ในปี พ.ศ. 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีผลบังคับใช้ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการก่อสร้าง ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่า ตามแบบการจัดการกำไร The Modified Jones การเปลี่ยนแปลงของรายได้ มีความสัมพันธ์
ในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพกำไรผ่านรายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร แต่ในทางกลับกัน ตามแบบการจัดการ
กำไรของ Yoon การเปลี่ยนแปลงของรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไรผ่านรายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจ
ของผู้บริหาร และเมื่อนำ รายการคงค้างในช่วงก่อนและหลังการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย ฉบับที่ 15 มาเปรียบเทียบนั้น
ทั้งตามแบบการจัดการกำไร The Modified Jones และ Yoon พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-02

How to Cite

กรัษนัยรวิวงค์ ก. ., & ศรีจั่นเพชร ศ. . (2020). ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญา ที่ทำกับลูกค้าที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 9(2), 117–128. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/245891