แนวทางการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุก่อสร้างท่ถูกใช้งานแล้วให้เกิดประโยชย์สูงสุดต่ออุต่สาหกรรมไทย
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, การจัดการข้อมูล, การจัดการวัสดุ, การจัดการนวัตกรรม, การจัดการการตลาดบทคัดย่อ
ปริมาณเศษวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานแล้วมีเพิ่มมากขึ้นและไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม ถูกปล่อยทิ้งเป็นขยะของเสีย ที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการเพิ่ม มูลค่าจากวัสดุก่อสร้างที่ถูกใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมไทย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 ตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิศวกรโยธาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกร ในประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุก่อสร้างที่ถูกใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมไทย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ 2) การจัดการข้อมูล 3) การจัดการวัสดุ 4) การจัดการนวัตกรรม และ 5) การจัดการการตลาด ผลการประเมินค่าความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกค่า โดยที่ค่าระดับความน่าจะเป็นของไคสแควร์ เท่ากับ 0.053 ค่าไคสแควร์สัมพัทธุ์ เท่ากับ 1.165 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.959 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.018 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การจัดการความรู้ส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการข้อมูลและการจัดการนวัตกรรม การจัดการข้อมูลส่งอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการวัสดุและการจัดการนวัตกรรมส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการวัสดุและการจัดการ การตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ผลจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในเชิงนโยบายต่อกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบริหารจัดการขยะให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง