ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเครือข่าย และปัจจัยด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,500 คน ที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิต การค้า และการบริการ เป็นสมาชิกของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และเป็นพนักงานระดับผู้บริหารชั้นต้นขึ้นไป จำนวน 1,500 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model :SEM) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากผลการทดสอบค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 18.05, p = 0.31 ที่องศาอิสระเท่ากับ 15 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ มีค่าเท่ากับ 1.20 ค่า GFI เท่ากับ 0.85 และค่า AGFI เท่ากับ .71 ส่วนค่า RMR เท่ากับ 0.021 สำหรับค่าความเที่ยงของตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ตัวแปรความมุ่งหวังที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย มีค่ามากสุด เท่ากับ 0.99 รองลงมา คือ ตัวแปรการพึ่งพาอาศัยกัน มีค่าเท่ากับ 0.98 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ตัวแปรปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ มีค่าเท่ากับ 0.83 แสดงว่า ตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ ได้ร้อยละ 83ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการเสริมสร้างความสำเร็จด้านธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง