กระบวนการเรียนรู้ลำตัดตามแนวพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอด: กรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัด และเพลงพื้นบ้านภาคกลางพ่อหวังเต๊ะ - แม่ศรีนวล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากระบวนการเรียนรู้ลำตัดตามแนวพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอด ของแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลางพ่อหวังเต๊ะ - แม่ศรีนวล มีความมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางกระบวนการเรียนรู้ลำตัดของแหล่งเรียนรู้ฯและเพื่อนำเสนอความสอดคล้องของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชปณิธานสืบสาน รักษา และต่อยอดในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบของการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอื่น ๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขยายผลสู่การร่วมธำรงรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการเรียนรู้ลำตัดของแหล่งเรียนรู้ฯ สอดคล้องกับแนวพระราชปณิธานสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยแบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นนำ มีความสอดคล้องกับแนวทาง “สืบสาน” มุ่งเน้นสืบทอดเรื่องราวผ่านเรื่องเล่าจากกระบวนกรผู้ชำนาญ 2) ขั้นกระบวนการ มีความสอดคล้องกับแนวทาง “รักษา” มุ่งเน้นการดำรงแนวทางการถ่ายทอดความรู้และการแสดงแบบฉบับคณะหวังเต๊ะ และ 3) ขั้นสรุป มีความสอดคล้องกับแนวทาง “ต่อยอด” มุ่งเน้นเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้ร่วมกระบวนการมีอิสระในการออกแบบการแสดง และสร้างสรรค์เนื้อหาอย่างเหมาะสม ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้ร่วมกระบวนการแสดงให้เห็นว่า แนวทางกระบวนการเรียนรู้ลำตัดตามแนวพระราชปณิธานสามารถส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนสำคัญต่อการธำรงคุณค่ามรดกวัฒนธรรมลำตัดอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายผลสู่การธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านแขนงอื่นของชาติไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
งานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี. (2564, 21 มิถุนายน). ลำตัดต้านโควิด (ใจเย็นๆ โควิด). YouTube. https://youtu.be/WeUJ7idkhAA
ฑีฆภัส สนธินุช และ สุรศักดิ์ จำนงค์สาร. (2566). อัตลักษณ์ทางดนตรีของลำตัดแม่ศรีนวล ขำอาจ ศิลปินแห่งชาติ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(8), 630 - 642. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/266925
เด่นดวง พุ่มศิริ. (2528). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองศาสตราจารย์เด่นดวง พุ่มศิริ ท.ช. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2528. กองโรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ.
ธนนันท์ บุ่นวรรณา. (2564, 23 เมษายน). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=XCb6uZbx-Q0
นรัสวรรณ หารทวี และ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2563). องค์ประกอบและบทบาทของเพลงพื้นบ้านภาคกลางในฐานะสื่อพื้นบ้านในสถานการณ์ไวรัสโคโรนา. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 22(2), 159 - 175. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/252944
น้ำผึ้ง มโนชัยภักดี. (2554). การแสดงลำตัดคณะหวังเต๊ะ: การศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/4452?attempt=2&
บัวผัน สุพรรณยศ. (2561). การสืบทอดและการพิทักษ์รักษามรดกภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 281 - 312. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/176988/126140
พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562. (2562, 4 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 14 ข. หน้า 1.
ภัสชา น้อยสอาด, สุพรรณี เหลือบุญชู, และ สาริศา ประทีปช่วง. (2566). อัตลักษณ์ทางดนตรีของสร้อยเพลงลำตัดคณะพ่อหวังเต๊ะ - แม่ศรีนวล. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 50 - 64. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_JHSS/article/view/261502
ภาณุรัชต์ บุญส่ง, ระวิวรรณ วรรณวิไชย, และ สุรีรัตน์ จีนพงษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 138 - 155. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/faa/article/view/238053
ราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (2563, 27 มิถุนายน). รายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 583 เสวนาประกอบการแสดงลำตัด โดย พ่อหวังเต๊ะ. YouTube. https://youtu.be/_2z9MglW-4c
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2566, 16 มีนาคม). โครงการเยาวชนต้นแบบ สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยใช้พลวัตทางวัฒนธรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. https://shorturl.asia/lOAFw
สมาคมอิโคโมสไทย ICOMOS Thailand. (2554). กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม. สมาคมอิโคโมสไทย ICOMOS Thailand.
อธิชนัน สิงหตระกูล (บรรณาธิการ). (2564, 20 พฤษภาคม). คู่มือการอบรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ค่าย 7. แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลางพ่อหวังเต๊ะ - แม่ศรีนวล. ISSU. https://issuu.com/a.singhatragul/docs/________________________7-_______
อังคณา อ่อนธานี. (2564). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำงานและอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 336 – 350. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/221440/168075