การพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ภาณุรัชต์ บุญส่ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ระวิวรรณ วรรณวิไชย
  • สุรีรัตน์ จีนพงษ์

Keywords:

กิจกรรมลำตัด, การแก้ไขภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, การพัฒนารูปแบบกิจกรรม, ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี, Lamtat activities, Solve depression problem in the elderly, Development activities model, The elderly social welfare development center Phathumthani province

Abstract

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญในการศึกษาการใช้กิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี โดยดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าที่อยู่ในศูนย์ ฯ ใช้วิธีการคัดเลือกจากการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นต้องมีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้ และอยู่ภายใต้การดูแลจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ ฯ จำนวน 22 คน กำหนดแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงกลุ่มทดลองศึกษาผลก่อนและหลังการทดลอง ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลของการพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ที่มีต่อกิจกรรมลำตัดในการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ   ได้รูปแบบกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยนำหลักการด้านการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งมีดนตรีประกอบในการควบคุมจังหวะการเคลื่อนไหวที่แสดงออก และนำกระบวนการด้านนันทนาการมาใช้ในการสร้างกิจกรรมที่จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ โดยเน้นการเสริมสร้างความสุข และการกล้าแสดงออกมากกว่าเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งใช้เวลาในการทำกิจกรรม จำนวน 5 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง รวมเป็น 10 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที จากการทดลอง พบว่า ผลการทดลองในช่วงระหว่างการใช้กิจกรรมลำตัดและหลังการใช้กิจกรรมลำตัดเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีค่าคะแนนซึมเศร้าลดลง 2. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ที่มีต่อกิจกรรมลำตัดในการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับมาก

 

ABSTRACT

             The objectives of this research were to investigate the intervention of Lamtatperformance activities to solve the problem of depression among the elderly in the Pathum Thani Social Welfare Development Centre for Older Peoples, The sample of this study consisted of elderly people suffering from depression. The sample was selected by screening elderly people with depression. A depression scale was used as a research instrument to screen elderly people with depression. Based on inclusion criteria, the sample was twenty-two elderly people with depression who voluntarily participated in Lamtat activities and under the supervision of the staff at the centre. A One Group Pretest-Posttest Design was used in this research. And the data were collected and analyzed using mean and standard deviation. In order to develop a model for Lamtat performance activities to solve the problem of depression in the sample and to study the level of satisfaction of the sample with Lamtat performance activities as an intervention to solve depression. The results of this study were summarized as follows: 1) the developed model of Lamtatperformance to solve the problem of depression among the elderly of Pathum Thani Social Welfare Development Centre for Older Persons consisted of ten activities, which were divided into two parts. The principle of independent movement related to the emotions and feelings was based on rhythm control with music. In addition, recreation processes were applied to create activities that helped to reduce depression among the elderly. The emphasis was on enhancing happiness and being assertive rather than increasing skills. The duration required was five weeks, two times per session, with a total of ten sessions. It took an hour and thirty minutes per session. The experimental resulted showed that after implementing the developed Lamtat activities, the sample’s depression score decreased; 2) the satisfaction of the sample with the developed Lamtat activities at a high level.

Downloads

Published

2020-06-29

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article