Guidelines

            คณะศิลปกรรมศาสตร์ จัดทำวารสารวิชาการ "วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการและบทความจากงานวิจัยในสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นอิสระและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความละ 3 ท่าน และตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal)

            สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์จากวารสารฉบับใดมาก่อนและจัดพิมพ์ตามรูปแบบคำแนะนำการเขียนสำหรับผู้นิพนธ์ ส่งมายังกองบรรณาธิการวารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความ ตัวอย่าง Template บทความ และวิธีการส่งบทความผ่านเอกสาร ส่วนที่ 1 คำแนะนำผู้นิพนธ์
            2. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการส่งบทความ และดาวน์โหลด Template บทความ
                        2.1 แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสาร สำหรับคณาจารย์และบุคคลทั่วไป (JFAA-02-1)
                        2.2 แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสาร สำหรับนิสิต นักศึกษา (JFAA-02-2)
                                    2.2.1 ใบรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ/วิทยานิพนธ์/งานค้นหว้าอิสระ (JFAA-03)
                        2.3 Template บทความ 
            3. ผู้นิพนธ์ส่งบทความทางเว็บไซต์พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (ชำระพร้อมการ Submit)โดยแนบเอกสารประกอบการส่งบทความ (ข้อ 2.1 หรือ 2.2 และ 2.2.1) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี เช่น ผลการประเมินจริยธรรมการวิจัยในคน) ไฟล์บทความในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF และหลักฐานการชำระเงินในช่อง Pre-Review Discussions ใน Submission ของบทความของท่าน

            อัตราค่าธรรมเนียมการประเมินบทความของวารสารฯ จำนวนเงิน 4,000 บาทต่อบทความ โดยชำระเงินผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • ชำระเงินผ่านใบแจ้งการชำระเงิน (E-payment) โดยดาวน์โหลดใบแจ้งการชำระเงิน ที่นี่ และนำไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงเทพได้ทุกสาขา
  • ชำระเงินผ่านบริการโอนเงินออนไลน์ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Banking) โดยทำการโอนเงินมาที่ ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่บัญชี 152-055892-3
  • ชำระเงินด้วยเงินสด ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันและเวลาทำการ

**วารสารฯ จะส่งใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปทางที่อยู่อีเมลของท่าน กรณีที่ท่านต้องการใบเสร็จรับเงินตัวจริง สามารถขอรับได้ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันและเวลาทำการ

            4. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานการสมัคร หลักฐานการชำระเงิน พร้อมตรวจสอบบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสารฯ
            5. ผู้นิพนธ์ต้องปรับปรุงแก้ไขบทความภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่ได้รับข้อแก้ไขจากกองบรรณาธิการ รวมทั้งในระหว่างการพิจารณาบทความทุกขั้นตอน หากผู้นิพนธ์ขาดการติดต่อเกิน 1 เดือน วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาบทความนั้น
            6. ระยะเวลาในการดำเนินการของบทความหนึ่ง ๆ ประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและการแก้ไขของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ การพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือเป็นสิ้นสุด
            7. หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานกองบรรณาธิการ ฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เว็บไซต์ https://www.tcithaijo.org/index.php/faa อีเมล jfaa.chula@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ 0-2218-4555, 062-337-4120

***หมายเหตุ วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าธรรมเนียมทุกกรณี (เช่น บทความไม่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้นิพนธ์ขอยกเลิกการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารฯ) เนื่องจากถือว่าวารสารฯ ได้รับบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้วและผู้นิพนธ์เจ้าของบทความเป็นผู้ยินยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว***

ส่วนที่ 1 คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (Author Guildlines)

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสาร JFAA-02-1 (สำหรับคณาจารย์และบุคคลทั่วไป) 

แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสาร JFAA-02-2 (สำหรับนิสิต นักศึกษา) 

ใบรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ/วิทยานิพนธ์/งานค้นคว้าอิสระ JFAA-03

Template บทความ

ตัวอย่าง Template บทความวิจัย

ตัวอย่าง Template บทความวิชาการ

ส่วนที่ 2 คู่มือการใช้งานระบบการจัดการวารสาร (ThaiJO)

การสมัครสมาชิก

การสมัครตอบรับเป็นสมาชิกวารสาร กรณีมีบัญชี ThaiJo แล้ว

ส่วนที่ 3 รูปแบบบทความและข้อเสนอแนะในการเขียน

รูปแบบบทความที่รับตีพิมพ์

ส่วนที่ 4 การส่งต้นฉบับผ่านระบบการจัดการวารสาร (ThaiJO)

การ Submissions บทความ

ส่วนที่ 5 การอ้างอิง

รูปแบบการอ้างอิง Chicago Manual of Style

ตัวอย่าง การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (Footnote) และตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม