ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพิชิต O-NET เรื่อง เซต โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อัญญาณี สุมน
สมคิด อินเทพ
อรรณพ แก้วขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพิชิต (O-NET) เรื่อง เซต โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระแสงวิทยา และ 2) ศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพิชิต (O-NET) เรื่อง เซต โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระแสงวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพระแสงวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ (Pre O-NET) เรื่อง เซต โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย จำนวน 7 แผน แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Pre O-NET) แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซต ของนักเรียน เท่ากับ 14.33 คะแนน (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) คะแนนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน เท่ากับ 20.31 คะแนน (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา กลับเป็นสุข. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบ สมการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารครุพิบูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(2), 283-296.

ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธัญญา เรืองแก้ว. (2550). การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สำคัญอย่างไร. วารสารวิชาการ, 10(4), 78-79.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, (2545). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

โรงเรียนพระแสงวิทยา. (2561). รายงานผลการดำเนินงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ปีการศึกษา 2560. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนพระแสงวิทยา.

วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ, (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณพร ทสะสังคินทร์, (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสร้างผังกราฟิกในรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิโรจน์ ดุเหว่า. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องการคูณและการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีการอุปนัย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุรชาติ วงศ์สุวรรณ, (2542). การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

ศิริพร ไชยศรี. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบอุปนัยเพื่อสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพร ศรีปุย. (2548). ผลการใช้ชุดกิจกรรม WALK RALLY คณิตศาสตร์ด้วยวิธีสอนแบบค้นพบ เรื่องลำดับเขคณิตและลำดับเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2559). การวัดผลและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.