การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ4MAT และแบบใช้แผนผังความคิด
Main Article Content
Abstract
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ4MAT และแบบใช้แผนผังความคิด
Comparison of Learning Achievements and Critical Thinking Entitled “The Geography of Thailand” for Mathayom Suksa 1 Students in the Learning Substance of Social Science, Religion and Culture During the Learning Activity Application on the 4MAT and the Mind Mapping Approaches
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสองแบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสองแบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) ศึกษาความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสองแบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคำป่าหลายสรรพวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2558 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบแผนผังความคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.37-0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.45 - 0.73 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบวัดความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.45-0.74 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t – test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบแผนผังความคิดเท่ากับ 82.96/86.45 และ 83.19/87.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบแผนผังความคิด เท่ากับ 0.6719 และ 0.6723 ตามลำดับ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ABSTRACT
The purposes of this research were to(1) efficiency of learning activity application for Mathayom Suksa 1 students entitled “The Geography of Thailand” using the 4MAT and the Mind Mapping methods with a set efficiency criterion of 80/80, (2) to investigate the Index of Effectiveness on the 4MAT and the Mind Mapping methods, (3) to compare the learning achievement between before and after learning of learning activities, both for students 1, (4) to compare the critical thinking between pre-test and post-test of the learning activities, both for students 1, and (5) study the satisfaction of learning activities, both for students 1. The samples consisted of 62 Mathayom Suksa1 students at Kham Pa Lai Sapphawit School, Mueang, Mukdahan selected by the purposive random sampling technique followed by drawing lot to be included in an experiment group. The instruments used were composed of a lesson plan on the 4MAT and the Mind Mapping methods , a form of the Mind Mapping, a 20-item multiple choice test on learning achievements with discrimination of 0.37-0.80, and reliability of 0.97, a 20-item multi[le choice test on critical thinking with discrimination of 0.45-0.73 and reliability of 0.93 as well as a 15-item rating scale questionnaire on satisfaction with discrimination of 0.45-0.74 and reliability of 0.89. Percentage, mean, standard deviation and t-test were utilized to analyze data.
The findings of this study were as follows: (1) The efficiency on the learning activity application of the 4MAT and the Mind Mapping approaches was at 82.96/86.45,83.19/87.58 which was higher than that of the set criterion of 80/80. (2) The Index of Effectiveness on learning the 4MAT and the Mind Mapping methods was at 0.6719 and 0.6723 respectively. (3) Students have been learning activities 4MAT and mind mapping. After high school before classes The level of statistical significance. 01. (4) The comparison between achievement and critical thinking of students who have been learning activities 4MAT. And a mind mapping After high school before classes The level of statistical significance. 01. (5) student satisfaction with the learning activities . During the event 4MAT learning activities with learning mind mapping . Overall, the highest level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร