ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป

Main Article Content

อัมพิกา จงเจริญสุข

Abstract

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป

The Factors of the Decisions to Buy the Instant Pet Food

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้บริโภคที่ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป จำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และ Pearson’s Product Moment Correlation

            ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาอยู่ในช่วงปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001-30,000 บาท จำนวนสัตว์เลี้ยง 1 ตัว ส่วนใหญ่ผู้บริโภคใช้อาหารสำเร็จรูปมาแล้ว 1-2 ปี ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อ คือ อาหารเม็ดแบบแห้ง เหตุผลในการซื้อ คือ สะดวกและไม่ต้องเสียเวลาเตรียมอาหาร โดยโฆษณาตามสื่อต่างๆ เป็นผู้ที่จูงใจในการซื้อ ระยะเวลาในการซื้อคือ 1 ครั้งต่อเดือน และสถานที่ในการซื้อคือห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน โดยส่วนใหญ่จะไปซื้อด้วยตนเอง สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งตกครั้งละ 400 บาทขึ้นไป ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ด้านราคาภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อด้านระยะเวลาที่ใช้ ประเภทของผลิตภัณฑ์ เหตุผลในการเลือกซื้อ ผู้ที่จูงใจในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ และช่องทางในการซื้อที่แตกต่างกัน  ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อในด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อโดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

            ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผู้จัดจำหน่ายควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าโดยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบถ้วน มีกลิ่นหอมน่าทาน มีหลายรสชาติ บรรจุภัณฑ์มีความคงทนและเก็บได้นาน กำหนดราคาให้เหมาะสม มีการโฆษณาผ่านสื่อให้มากขึ้น มีการส่งเสริมการขายเมื่อซื้อสินค้าในปริมาณที่มากโดยการลด แลก แจก แถม

Abstract

            The purpose of this study is to examine the behaviors and marketing mix affecting the consumers’ decisions to buy the pet food by analyzing the relationships between the individual factors and buying behaviors as well as those between the marketing mix and buying behaviors. This is a quantitative research study. The samples were the 400 consumers in Bangkok who bought the instant pet food. The research instrument is questionnaire. The statistics for analyzing data are descriptive ones including frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square, and Pearson’s Product Moment Correlation.

            It is found that most of the 400 respondents were female, 20 – 29 years, and single. Mostly, their highest graduation level is Bachelor’s degree. Their monthly income was 20,001 – 30,000 baht. Most of them had a pet. Most consumers have used the instant pet food for one two years. The type of the products they bought is dry granular pet food because it is convenient and does not take long time (i.e. they bought this type of feed once in a month). The places they bought the fees were the department stores close to their houses. Most of them bought the pet food by themselves. The expense for each time they bought the pet food was 400 baht or higher. For the opinions towards the marking mix, their overall agreement level on pricing is the highest one. That on marketing promotion products and distribution channel is high. The different individual factors differently affected the buying behaviors in terms of time, product type, reason, motivator, buying frequency, and channel. The results from comparing the fours components of marketing mix with the buying behaviors show that that the four components are related to the buying behaviors in terms of expenses in the same directions.

            The suggestions are as follows. The distributors should emphasize on the qualities of the products by providing complete nutrients, appetizing smells, various flavors, and durable packages, the prices of the products should be competitive. For distribution channels, the products should be advertised through media more than before , sales promotions should be provided for the customers who buy the high quantity of products by giving discounts and free gifts.


Article Details

Section
บทความวิจัย