การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่เป็นผลมาจากโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม : กรณีศึกษาบ้านดงใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่เป็นผลมาจากโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม : กรณีศึกษาบ้านดงใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
A STUDY TO CHANGE OF WATER QUALITY CAUSED BY THE POTASSIAM MINING PROJECT THAT AFFECTED THE COMMUNITY : THE CASE STUDY BANKHAMTAI, THAKHEK DISTRICT, HAMMOUANE PROVINCE, LAO PEOPLE DEMOCRATIC REPUBLIC
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพน้ำและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่เป็นผลมาจากโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม 2) ศึกษาผลกระทบต่อชุมชนอัน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 74 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน 8 คน ประชาชน จำนวน 52 คน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน
10 คน และตัวแทนบริษัทโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม จำนวน 4 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาคุณภาพน้ำและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่เป็นผลมาจากโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียมในเขตพื้นที่บ้านดงใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ผลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำอันเกิดจากการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม พบว่า การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำอันเกิดจากขุดค้นแร่โปรตัสเซียม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำน้ำห้วยหวาย แห้งขอด และตื้นเขิน การไหลของลำน้ำห้วยหวายไม่สะดวกเนื่องจากการทำเหมืองแร่โปรตัสเซียม และลำน้ำห้วยหวาย ขุ่นและมีตะกอนตกค้างเป็นจำนวนมาก
2. ผลกระทบต่อชุมชนอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำจากโครงการขุดค้นแร่ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การเกษตรมีปัญหาเนื่องจากลำน้ำห้วยหวายมีความเค็ม ชาวบ้านเจ็บป่วยบ่อยขึ้น จากการใช้สารเคมี ในการทำเหมืองแร่ แพร่กระจายมาตามอากาศ ดิน น้ำ และแหล่งอาหาร และชาวบ้านได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
3. ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและผลกระทบต่อชุมชนจากโครงการขุดค้นแร่โปรตัสเซียม พบว่า 1) การให้ศึกษาและการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม 2) การเข้าร่วมของภาคส่วนธุรกิจในการป้องกันและควบคุมคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อมและกติกาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน 3) ด้านข้อมูลข่าวสารด้านคุณภาพน้ำ 4) ยกระดับความรู้ ความสามารถให้แก่บุคลากร 5) การสร้างและส่งเสริมการบังคับใช้นโยบาย กฎหมาย และนิติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 6) สร้างความเข้มแข็งของระบบการวัดและประเมินผลและควบคุมมลพิษ 7) สร้างแผนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแบบรอบด้านในแขวงคำม่วนและจุดศูนย์กลางของแต่ละเมือง 8) สร้างความเข้มแข็งระบบการวัดและประเมินผลสิ่งแวดล้อมแบบยุทธศาสตร์ และ 9) สร้างความเข้มแข็งระบบการวัดและประเมินผลสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ
ABSTRACT
The purposes of this study were : 1) to investigate water quality and changes in water quality resulting from the potassium excavation project, 2) to examine the effects on the community as a result of changes in water quality, and 3) to inquire into a way to the development of water quality or solution of problems of the effects on the community as a result of changes in water quality. The target group comprising 74 people was selected by purposive sampling. The tools used in the study were a structured interview guide and a rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The findings of study disclosed as follows:
1. From the study of water quality and changes in water quality resulting from the potassium excavation project, in the Ban Dongtai village area, Thakhek district, Khammouane province, Lao People Democratic Republic, it was found that the result from changes in water quality resulting from the potassium excavation project as a whole was at high level. Considering it by item as arranged in order of rankings from higher to lower means respectively, the results showed as follows: the natural water sources such as the river Huai Wai was dried up and shallow the flow of the river Huai Wai was inconvenient because of the potassium excavation project and the river Huai Wai was turbid with sediment buildup
2. The overall effect on the community as a result of changes in water quality resulting from the potassium excavation project was at high level Considering it by item as arranged in order of rankings from higher to lower means respectively, the results showed as follows: there was a problem with agriculture because of salinity of the river Huai Wai more often, people got sick from the chemicals used in mining, which were spread through the air, soil, water and food supply and people got toxins into their bodies.
3. The suggestions of guideline for the development of water quality or solution of problems of the effects on the community as a result of changes in water quality resulting from the potassium excavation project were as follows: 1) educate people and create environmental awareness in them; 2) let the business sector participate in prevention and control of water quality and rules of using natural resources and the environment sustainability; 3) manage the information of water quality; 4) upgrade the personnel’s knowledge and ability; 5) create and promote the implementation of policy, the enforcement of laws, and the legality of environment; 6) strengthen the system of assessment and evaluation of pollution control; 7) create plans to protect all the aspects of the environment in Khammouane province and the center of each town; 8) strengthen the system of measurement and evaluation of the strategic environment; and 9) strengthen the system of measurement and evaluation of the economic environment.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร