ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

ดร.ศุภกร ศรเพชร

Abstract

ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

PROPOSED STRATEGY FOR DEVELOPING OF GREADUATE STUDIES MANAGEMENT AT FACLTY OF LIBERAL ARTS AND SCIENCE NAKORN PHANOM UNIVERSITY

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มต่อการพัฒนา และเพี่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม      กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Futures Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ให้สัมภาษณ์ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) และค่ามัธยฐาน (Median)

            ผลการวิจัย พบว่า ข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มี 9 ด้าน คือ การบริหาร หลักสูตร คณาจารย์ นักศึกษา การเรียนการสอน วิทยานิพนธ์ ห้องสมุด เครือข่าย และเทคโนโลยี ในแต่ละข้อเสนอนั้นมีแนวทางปฏิบัติในแต่ละด้านรวม 56 รายการ และข้อที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยระดับมาก  มีค่ามัธยฐาน (Mdn.) ตั้งแต่ 4.0 (ขึ้นไป) และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.) ตั้งแต่ 1.51 (ลงมา) จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อ 3 การบริหารจะต้องยึดผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก  ข้อ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ระบบบริหารงานบุคคล ให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดี และข้อ 42 นำระบบเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บและค้นหาข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งในและต่างประเทศ

Abstract

            This present research study was conducted with two main purposes: (1) to investigate on current conditions, problems, and prospects of development and (2) to propose the development strategies of the graduate school development and administration of the Faculty of Liberal Arts and Sciences, Nakhon Panom University. The participants in this research were five experts and 19 specialists. In conducting research, the researcher adopted the EDFR research technique (Ethnographic Future Research) and used semi-structured interview to collect data. In terms of the semi-structured interview approach, there were two sections: (1) the interview on interviewees’ status and (2) the interview on graduate school administration and other suggestions. To analyze the data, the research adopted these two statistical analysis that were the interquartile range and median. 

Article Details

Section
บทความวิจัย