ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์

Main Article Content

วสันต์ ศรีหิรัญ

Abstract

ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์

(Critical thinking with flipped classroom)

บทคัดย่อ

            การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน  มุ่งเน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองตามทักษะ ความรู้ความสามารถและสติปัญญาตามอัตราความสามารถทางการเรียนแต่ละคน (Self-Paced) จากกิจกรรมทั้งในห้องเรียนที่เกิดจากการเรียนการสอนทางตรงจากครูผู้สอน และกิจกรรมนอกห้องเรียนจากผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT หลากหลายประเภทที่มีในปัจจุบัน ซึ่งผู้เรียนต้องใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการศึกษาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศ ผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT เพื่อให้เกิดมโนทัศน์รวบยอดของเนื้อหาและทำความเข้าใจถึงความเรื่องราวหรือเนื้อเรื่องต่างๆ ว่าประกอบด้วยอะไร มีจุดมุ่งหมายหรือความประสงค์สิ่งใด ที่สำคัญนั้นแต่ละเหตุการณ์เกี่ยวพันกันอย่างไรบ้าง อีกทั้งเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนและมีเหตุมีผล สามารถนำเอาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นนั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ในอนาคต

 

Abstract
            Flipped classroom learning will focus on knowledge creation according skills, knowledge, abilities, and self-paced of the individual learners from learning experiences provided by teachers, and activities outside classroom using a variety of Information Communication Technology, Which students use critical thinking on Information Communication Technology to create the concept, understanding, and relationship of the elements. Moreover, this learning promotes learners’ critical skill which can be applied in the future.

Article Details

Section
บทความวิชาการ