การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย โดยใช้ชุดการสอนตามรูปแบบ แวน ฮีลี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เอกคณิต เอี่ยมภักดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบของแวน ฮีลี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้ชุดการสอนตามรูปแบบของแวน ฮีลี กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้ชุดการสอนตามรูปแบบของแวน ฮีลี กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการสอนตามรูปแบบ แวน ฮีลี เรื่อง ความคล้าย แบบทดสอบประจำชุดการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 แบบทดสอบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ตัวสถิติที (One-Sample T – Test) ผลการวิจัยพบว่า

1) ประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง ความคล้าย เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ ตามรูปแบบ แวนฮีลี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.98/77.92 สูงกว่าเกณฑ์

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปรากฏว่าคะแนนของผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3) ทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปรากฏว่ามีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

Section
บทความวิจัย