การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พิศมัย ลาภมาก

Abstract

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Development of Instructional Model for Creative Writing, Pratomsuksa 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้จากประชากร จำนวน 192 คน แยกเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน 64 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 64 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 64 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับโรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม จำนวน 2 ห้องเรียน แยกเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 46 คน  นักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าที (t-test Independent) สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ  

ผลการศึกษาพบว่า  

1. รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1) ขั้นเตรียม 3.2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 3.3) ขั้นสอน มีการเตรียมเขียน การยกร่างข้อเขียน (การเขียนคำสำคัญ แยกแยะแนวคิดสำคัญและแนวคิดรอง  จัดลำดับให้แนวคิดที่กว้างอยู่บนสุด และแนวคิดรองอยู่ถัดลงมา นำแนวคิดที่อยู่ในระดับเดียวกันมาจัดกลุ่มเข้าด้วยกันการเขียนรายละเอียดของแต่ละกิ่ง  เชื่อมโยงแนวคิดโดยลากเส้น แล้วเขียนคำหรือข้อความเชื่อมระหว่างแนวคิด และตกแต่งเส้นสีให้สวยงาม นำเนื้อหาข้อความในแต่ละกิ่งที่จัดลำดับความคิดแล้วมาเขียนร่าง) ขั้นการตรวจสอบผลงาน ขั้นการเรียบเรียงและตรวจทาน ขั้นการจัดทำข้อเขียนให้สมบูรณ์  3.4) ขั้นสรุปบทเรียน และ 3.5) ขั้นประเมินผลการทำงานกลุ่ม 4) บทบาทครู  5) บทบาทนักเรียน  6) บรรยากาศการเรียนรู้ และ  7) การวัดและประเมินผล

2. รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.78 /80.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

 3. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.17, S.D. = 0.12)


Article Details

Section
บทความวิจัย