ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน : กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน : กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
STRATEGY OF DEVEL0PING CREAT THE UNDERSTANDING AWARENESS OF ARTICITION IN CONSERVATION OF THE PROTECTED FOREST: A CASE STUDY IN BAN KABUD – CHINGWAEN, THAKHEK DISTRICT, KHAMMOUANE PROVINCE, LAO PEOPLE’SDEMACRATIC REPUBLIC
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาความเข้าใจตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน : กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน และ 3)ประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน 1) เจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 5 คน 2) กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน 3) ผู้อาวุโส จำนวน 2 คน 4) กลุ่มสตรี จำนวน
8 คน 5) กลุ่มเยาวชน จำนวน 5 คน และ 6) ประชาชนบ้านกะบุด–เชียงแหวน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการอนุรักษ์ป่าป้องกัน พบว่า ป่าป้องกัน บ้านกะบุด–เชียงแหวน ถูกทำลายเป็นจำนวนมากความอุดมสมบูรณ์ของป่าป้องกันลดน้อยลงปัญหาการอนุรักษ์ป่าป้องกันพบว่า ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกัน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับของป่าป้องกันและขอบเขตพื้นที่ป่าป้องกันไม่ชัดเจนและขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างประชาชนกับภาครัฐที่เกี่ยวข้องส่วนความต้องการอนุรักษ์ป่าป้องกัน พบว่า ประชาชนต้องการให้เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน ให้มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมแรง และร่วมใจกันในฟื้นฟูดูแลรักษาป่าป้องกันให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกันและให้มีเครือข่ายอนุรักษ์และป้องกันการรุกบุกป่าป้องกันและแนวทางการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ป่าป้องกัน คือ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกันแบบยั่งยืนกฎระเบียบ ข้อบังคับของการอนุรักษ์ และป้องกันการรุกบุกป่าป้องกัน และการลาดตะเวนในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน การจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนในการอนุรักษ์ป่าป้องกันและเครือข่ายการอนุรักษ์ และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกันเน้นการฟื้นฟูการดูแลรักษาป่าป้องกันโดยร่วมมือระหว่างภาครัฐ และประชาชนในชุมชน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน : กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1 ยุทธศาสตร์ 3 โครงการ คือ 1) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกันแบบยั้งยืนกฎระเบียบ ข้อบังคับของการอนุรักษ์ป่าป้องกัน 2) การจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนในการอนุรักษ์ป่าป้องกันและ 3) การสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกันเน้นการฟื้นฟู การดูแลรักษาป่าป้องกันโดยร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในชุมชน
3. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร