การเสริมสร้างความรู้ และความตระหนัก เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง โดยใช้การอบรมด้วยเทคนิค AIC : กรณีศึกษา หมู่บ้านท่าเฮือ เมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ปางคำ วิไลพรรณ

Abstract

การเสริมสร้างความรู้ และความตระหนัก เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง โดยใช้การอบรมด้วยเทคนิค AIC : กรณีศึกษา หมู่บ้านท่าเฮือ เมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

Enhancing Knowledge and Awareness of Conserving the Forest Resources in the Nam NgiepNam Mang National Protected Forest Area through Training by the AIC Technique: The Case Study of Tha Heua Village, Bolikhan District, Bolikhamxai Province, Lao People’s Democratic Republic 

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชนในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง หมู่บ้านท่าเฮือ เมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และ 2) ศึกษาผลการเสริมสร้างความรู้ และความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง โดยใช้การอบรมด้วยเทคนิค AIC กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านท่าเฮือ จำนวน 37 ครัวเรือน  รวมทั้งหมด 37 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์บริบทชุมชน 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 3) แบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 4) เอกสารประกอบการอบรม และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่ม   ไม่อิสระกัน

            ผลการวิจัย พบว่า

     1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติน้ำเงียบ-น้ำมัง ของประชาชนหมู่บ้านท่าเฮือ ได้แก่ 1) มีการบุกรุกพื้นที่ และเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย 2) มีการตัดไม้รวมทั้งแบบถูกต้อง และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 3) มีการใช้ผลิตผลจากป่าอย่างฟุ่มเฟือยทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าลดน้อยลง สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพป่าไม้ และดินเสื่อมโทรม 4) เกิดการพังทลายของดินในที่ลาดชัน และยังมีผลต่อความสมดุลของชั้นน้ำใต้ดิน 5) ปริมาณน้ำในแม่น้ำลดลงอย่างมากส่งผลกระทบต่อทางการเกษตร และน้ำบริโภค 6) ปริมาณปลาธรรมชาติตามลำน้ำลดลง และ 7) มีการลักลอบล่าสัตว์ และหาปลาด้วยวิธีที่รุนแรงไม่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจากประชาชนขาดความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง

        2. หลังการอบรม ประชาชนมีความรู้ และความตระหนัก เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ น้ำเงียบ-น้ำมัง สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของจัดอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

Section
บทความวิจัย