การพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

สุกันยา กำลังฤทธิ์

Abstract

การพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

A Development of Knowledge Management Curriculum for Academic Administrational effectiveness in School under the Secondary Educational Service Area Office 23

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาระดับสภาพและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ รวมทั้งพัฒนาและตรวจสอบหลักสูตรการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 โดยการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของส่วนประกอบของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกด้านสภาพเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนอยู่ระหว่าง 0.31-0.77 ด้านความต้องการเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45-0.94 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2557 ได้มาจากการสุ่มโดยใช้ตารางการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% โดยนำจำนวนประชากรทั้งหมดรวม 2,094 คน มาเทียบกับตารางการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ทำให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 349 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาร่างหลักสูตรและตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของส่วนประกอบของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงพัฒนาให้สมบูรณ์

            ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับสภาพและความต้องการของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 ที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำมาสร้างแบบสอบถามตามประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล 3) การพัฒนาและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา 4) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 5) การส่งเสริมสนับสนุนระหว่างโรงเรียน ชุมชน และองค์กรอื่น สำหรับกระบวนการ

จัดการความรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความรู้ 2) การสร้างความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนความรู้และ 5) การนำความรู้ไปใช้ จากการศึกษาพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งเหมาะสมต่อการนำไปสร้างหลักสูตรทุกประเด็น

                 2. ผลการสร้างและพัฒนาหลักสูตรภายหลังจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายด้านเกี่ยวกับสภาพและความต้องการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก หลังจากนั้นได้นำประเด็นที่ได้จากการศึกษามากำหนดหน่วยการเรียนรู้จำนวน 3 หน่วย ตามแนวคิดของปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553 :  3-4) 1) ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล 3) การพัฒนาและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษาและได้สอดแทรกเนื้อหาด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนระหว่างโรงเรียน ชุมชน และองค์กรอื่น เพื่อให้มีความครอบคลุมมากขึ้น และได้นำกระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอนที่ได้จากการสังเคราะห์ตามทฤษฏีมาใช้ในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครื่องมือการวิจัย การเก็บข้อมูลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเพื่อประกอบการตัดสินใจในการสร้างหลักสูตร การร่างหลักสูตรการฝึกอบรม การตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตรตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

                 3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของส่วนประกอบของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า หลักสูตรการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และมีค่าความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ระหว่าง .80-1.00 แสดงว่าหลักสูตรการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 มีความเหมาะสมและความสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนดและยอมรับได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ปรับปรุงหลักสูตรตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาและการวัดผลและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น



Article Details

Section
บทความวิจัย