ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ และ 2) เปรียบเทียบความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์กับเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านท่าบันได จังหวัดตรัง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 12 คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับที่มีตัวตั้งและผลลัพธ์ไม่เกิน 20 จำนวน 8 แผน
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) แบบวัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีเทียบกับเกณฑ์และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร